หน่วยวิจัยด้านเทคโนโลยีทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์ และการโต้ตอบกับมนุษย์
หลักการและเหตุผล
ในบรรดาประสาทสัมผัสของมนุษย์ทั้งหมดนั้น การมองเห็นหรือประสาทสัมผัสทางตาเป็นประสาทสัมผัสที่มนุษย์ใช้ในการดำเนินชีวิตมากที่สุด ดังนั้นกิจกรรม สิ่งประดิษฐ์ สถาปัตยกรรม ภาษา ศิลปะ วัฒนธรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ของมนุษย์ส่วนใหญ่ล้ววนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองการมองเห็นที่เป็นหลัก การจะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับการใช้งานของมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ การโต้ตอบระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (Human and computer interactions) โดยเฉพาะการโต้ตอบที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นและข้อมูลเชิงภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถแยกแยะข้อมูล รับรู้และเข้าใจข้อมูลเชิงภาพได้ใกล้เคียงหรือดีกว่ามนุษย์ นอกจากนี้จะต้องทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลและตอบโต้กับมนุษย์ได้ ซึ่งการจะทำให้คอมพิวเตอร์มีวคามสามารถเช่นนั้นต้องอาศัยศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์ (computer vision) การประมวลผลภาพดิจิตัล (digital image processing) คอมพิวเตอร์กราฟฟิค (computer graphics) ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องจักร (artificial intelligence and machine learning) เป็นต้น องค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดงานแก่สังคมและประเทศชาติได้อย่างกว้างขวาง เช่น การแพทย์ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การคมนาคมขนส่ง นิติวิทยาศาสตร์ การทหาร การรับรู้ระยะไกลและอวกาศ เป็นต้น ประเทศไทยซึ่งมีการกำหนดเป้าหมายให้เป็นศูนย์กลางในหลายๆ ด้าน เช่น การเป็นผู้ด้านการเกษตรและอาหารของโลก การเป็นศูนย์กลางการผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมยานยนต์ การเป็นศูนย์กลางการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการที่ประเทศไทยรับเป็นผู้ประสานงานหลักในสาขาการท่องเที่ยวและการบิน สำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ดังนั้นการสนับสนุนและการพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน เพื่อให้ทันกับการเป็นศูนย์กลางทางด้านต่างๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะการรวมตัวของประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นปนะชาคมอาเซียนที่จะมาถึงในปีพ.ศ. 2558
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเล็งเห็นว่าศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับทัศนศาสตร์คอมพิเตอร์ และการโต้ตอบระหว่างมนุษย์กับคอมพิเตอร์มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ จึงสนับสนุนให้คณาจารย์และนิสิตได้ศึกษาและวิจัยศาสตร์และเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อผลิตผลงานทางวิชาการ สิ่งประดิษฐ์แลพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งการจะสร้างผลงานที่มีคุณภาพนั้นจำเป็นจะต้องมีหน่วยวิจัยหรือห้องปฏิบัติการเฉพาะทาง และการมีหน่วยวิจัยดังกล่าวนั้น นอกจากจะส่งเสริมการผลิตผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์แล้วยังเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ทั้งในรูปแบบของการวิจัยร่วมกัน และการยริการทางวิชาหารที่จะมีต่อไปในอนาคต และสุดท้ายจะช่วยทำให้เกิดผลงานที่ส่งเสริมและสนันสนุนการพัฒนาประเทศ และยังเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแช่งขันของบุคคลากรทางด้าวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ของไทยเพื่อรองรับการรวมตัวกันของประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้
วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
-
เพื่อเป็นแหล่งพัฒนาความรู้ขั้นสูงทางด้านทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์ การโต้ตอบของมนุษย์กับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเป็นแหล่งผลิตผลงานและนวัตกรรมด้านทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์ การโต้ตอบของมนุษย์กับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนด้านทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์ การโต้ตอบของมนุษย์กับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะให้กับนิสิตและคณาจารย์ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาในกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์ การโต้ตอบของมนุษย์กับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ของบุคคลากรในภาควิชา
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์ การโต้ตอบของมนุษย์กับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องแก่ชุมชนและสังคม และสร้างความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนอื่นๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
กรอบ แผนงานและทิศทางการดำเนินงานวิจัย
แผนการดำเนินงาน |
ระยะเวลา |
1. จัดตั้งหน่วยวิจัย |
ภายใน 1 เดือนหลังได้รับการอนุมัติ |
2. จัดซื้อครุภัณฑ์ |
เริ่มได้ภายใน 1 เดือนหลังได้รับอนุมัติและเสร็จสิ้นภายใน 6 เดือนหลังได้รับอนุมัติ |
3. จัดทำ web site |
ภายใน 1 เดือนหลังได้รับการอนุมัติ |
4. ดำเนินงานวิจัย |
ภายใน 1 เดือนหลังได้รับการอนุมัติ |
5. เผยแพร่ผลงาน |
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป |
ทิศทางการดำเนินงานวิจัย
การวิจัยจะเน้นที่
การพัฒนาความรู้ขั้นสูงและสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์ การโต้ตอบของมนุษย์กับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์ การโต้ตอบของมนุษย์กับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
การร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานที่มีการพัฒนา ความรู้และสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์ การโต้ตอบของมนุษย์กับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
ความร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยภายนอกและแนวทางการดำเนินงานวิจัยและการสร้างเครือข่าย
ปัจจุบันหน่วยวิจัยมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่อไปนี้
1. NECTEC
2. Asian Institute of Technology
นอกจากนี้หน่วยวิจัยจะพยายามสร้างความร่วมมือด้านวิชาการและงานวิจัยกับมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานอื่นในต่างประเทศอย่างน้อย 3 หน่วยงาน โดนมุ่งเน้นที่สถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลก
ทุนวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนและที่กำลังดำเนินการ ณ ปัจจุบัน
ไม่มี
สถานที่ตั้ง
ห้อง EE 504 ชั้น 5
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
ผลการดำเนินงาน
เสนอผลงานวิจัย ระดับนานาชาติ
ผลการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน
1. A Bang-ngoen, J. Thipakorn, and R. Waranusast, "µsurface: A Tangible Interactive Music Score Editor Surface," Proceedings of the 2013 Second ICT International Student Project Conference lCT – ISPC 2013), Nakhon Pathom. Thailand, 28-29 March 2013, pp. 141-144
2. P. Kowwannasri, A. Panpet, and R. Waranusast, "Machine Learring Techniques for SET Index Prediction," Proceedings of the 2013 second ICT International Student Project Conference (ICT - ISPC 2013), Nakhon Pathom, Thailand, 28-29 March 2013, pp. 105-108.
3. C. Tangnoi, N. Bundon, V. Timtong, and R. Waranusast, "A Motorcycle Safety Helmet Detection System Using KNN Classifier," Proceedings of the 2013 second ICT International Student Project Conference (ICT lSPC 2013), Nakhon Pathom, Thailand, 28-29 March 2013, pp. 97-100.
สร้างความร่วมกับหน่วยงานภายในประเทศ ตั้งแต่ปี 55 - 59
ผลการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน
- 1. สถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่าง
ผลการดำเนินการอื่น ๆ
-
ปี 2556
- เข้าร่วมการประกวดโครงงานด้านวิศวกรรม (ระดับคณะ)
- 1. เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องจักรสำหรับพยากรณ์ดัชนีตลาดหลักทรัพย์
- 2. ระบบตรวจจับหมกนิรภัยของผู้ขับขี่จักรยายยนต์ ( รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 )
- 3. ต้นแบบคอมพิวเตอร์แบบเน้นการสัมผัสบนพื้นผิว: กรณีศึกษาโปรแกรมช่วยสอนโน้ตดนตรีเบื้องต้น ( รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 )
- 4. ระบบตรวจหาคำศัพท์ที่ถูกเน้นข้อความเพื่อสนับสนุนการแปลคำศัพท์ภาษอังกฤษเป็นภาษาไทย
- เข้าร่วมการประกวดนวัตกรรม – โครงงานนิสิตระดับมหาวิทยาลัย
- 1. เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องจักรสำหรับพยากรณ์ดัชนีตลาดหลักทรัพย์
- 2. ระบบตรวจจับหมกนิรภัยของผู้ขับขี่จักรยายยนต์ ( รางวัลชนะเลิศ สาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี )
- 3. ต้นแบบคอมพิวเตอร์แบบเน้นการสัมผัสบนพื้นผิว: กรณีศึกษาโปรแกรมช่วยสอนโน้ตดนตรีเบื้องต้น
- 4. ระบบตรวจหาคำศัพท์ที่ถูกเน้นข้อความเพื่อสนับสนุนการแปลคำศัพท์ภาษอังกฤษเป็นภาษาไทย
- เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ ICT – ISPC 2013 และการประกวด software Innovation ที่มหาวิทยาลัยมหิดล
- 1. “A Motorcycle safety Helmet Detection System using KNN Classifier” ( รางวัลที่ 3 ประเภท Intelligent Systems )
2. "Machine Learning Techniques for SET Index Prediction"
3. µsurface: A Tangible Interactive Music Score Editor Surface” ( รางวัลที่ 2 ประเภท Multimedia and Embedded Systems)