ระบบเมคคาทรอนิกส์ (Mechatronic System) เป็นระบบที่ประกอบด้วยส่วนประกอบทางกล และ ส่วนประกอบทางไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบัน ระบบเมคคาทรอนิกส์ มีใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ระบบหุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการ วิเคราะห์ ออกแบบ สังเคราะห์ เลือกส่วนประกอบ หรือ ปรับปรุงระบบเมคคาทรอนิกส์ระบบหนึ่ง ๆ ผู้นั้นจะต้องมีความรู้ทั้งทางด้าน ระบบทางกล ระบบไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งการศึกษาหาความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบเมคคาทรอนิกส์นี้ โดยทั่วไปจะกระจัดกระจายอยู่ใน การเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดยจะอยู่ในหลักสูตรวิศวกรรมสาขาต่าง ๆ คือ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า และ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ดังนั้นเราจึงอาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบัน มีผู้ที่มีความรู้ครอบคลุมในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับระบบเมคคาทรอนิกส์อยู่น้อยมาก
การเติบโตอย่างรวดเร็วของภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย ทำให้ผู้มีความรู้ความชำนาญ ในงานทางด้านเมคคาทรอนิกส์ เป็นที่ต้องการอย่างยิ่งของภาคอุตสาหกรรม ในขณะเดียวกัน ศาสตร์ทางด้านระบบเมคคาทรอนิกส์ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ค่อนข้างใหม่ ก็มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การแสวงหาความรู้ในด้านระบบเมคคาทรอนิกส์สมัยใหม่ มีความสำคัญพอ ๆ กับ การมีความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบเมคคาทรอนิกส์ ดังนั้นเพื่อเป็นตอบสนองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เราจึงจำเป็นต้องร่วมมือกัน เพื่อเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนความรู้ และ พัฒนาแนวคิด เพื่อที่จะใช้ในการที่จะติดตามวิทยาการที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ได้อย่างทันท่วงที
ด้วยเหตุทั้งสองประการที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ คณะวิจัย ก่อตั้งหน่วยปฏิบัติการวิจัยด้านเมคคาทรอนิกส์และอุตสาหกรรม ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อที่จะทำให้เกิด หน่วยปฏิบัติการ ที่ใช้ดำเนินการให้เกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการขององค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมสาขาต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนความรู้ และ ทำให้เกิดการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม สังคม และ ประเทศชาติ นอกจากนี้ เรายังคาดหวังว่า จะเป็นแหล่งรวมรวมและถ่ายทอดความรู้ เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านระบบเมคคาทรอนิกส์ สำหรับงานทางด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ และ พร้อมที่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ได้อย่างทันท่วงที
"แพล็ตฟอร์มหุ่นยนต์เคลื่อนที่ ที่พัฒนาขึ้นที่ MI-LAB"
วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
1. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านระบบเมคคาทรอนิกส์และงานทางอุตสาหกรรม ที่เป็นที่สนใจอยู่ในปัจจุบัน
2. เพื่อเป็น แหล่งผลิตนวัตกรรม ที่เกี่ยวกับ ระบบเมคคาทรอนิกส์ เพื่อตอบสนอง ต่ออุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อส่งเสริมการทำงานและความร่วมมือ ระหว่างอาจารย์ด้วยกัน และ นิสิต-อาจารย์ ภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์
ทิศทางการพัฒนางานวิจัย
1. การพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่สำคัญ ที่เกี่ยวกับระบบหุ่นยนต์เคลื่อนที่
2. การประมวลผลภาพเพื่อให้สามารถ วิเคราะห์และคัดแยกข้อมูลออกมาได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
3. การพัฒนาระเบียบวิธีการประมวลผลสัญญาณ และ ระบบเชื่อมโยงสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหุ่นยนต์เคลื่อนที่
สถานที่ตั้ง
1. อาคารวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
2. อาคารปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
บุคลากรในหน่วยวิจัย
- ดร. สุวิทย์ กิระวิทยา
- รศ.ดร.ไพศาล มุณีสว่าง
- ดร. พนัส นัถฤทธิ์
บทความทางวิชาการในวารสารที่มีค่า Impact Factor
- InGaAs quantum-dot-in-ring structure by droplet epitaxy / Journal of Crystal Growth 378, 435 (2013)
- Angular position detection of single nanoparticles on rolled-up optical microcavities with lifted degeneracy / Phys. Rev. A 88, 033833 (2013).
- Cartridge case image matching using effective correlation area based method / Forensic international, 229(1), 27-42, (2013).
การนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ
- Quantum-Dot Ring Formation by Strained Droplet Epitaxy / the 17th international Conference on Crystal Growth and Epitaxy (ICCGE-17) (2013)
- Molecular Beam Epitaxy Growth of GaSb QaSb Quantum Dots on Ge Substrates / 17th international Conference on Crystal Growth and Epitaxy (ICCGE-17) (2013)
- Energetic favorite of quantum dot formation in ring-shaped InP quantum-dot molecules / the Electrical Engineering / Electronics, Computer, Telecommunications and information Technology Conference (ECTI-CON) (2013)
- Simple energetic estimation of electronic states in quantum-dot cellular automata / the International Electrical Engineering Congress (IEECON) (2013)