Research Unit for Integrated Natural Resources Remediation and Reclamation: IN3R
หน่วยวิจัยเชิงบูรณาการด้านการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อน และการนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
1. ที่มาของหน่วยงาน
การปนเปื้อนสารอันตรายในสิ่งแวดล้อมทั้งโดยเหตุสุดวิสัย ความประมาท ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และแม้แต่การกระทำผิดกฎหมายโดยเจตนา ไม่ว่าจะเป็นจากการประกอบอุตสาหกรรมที่ไม่ยั่งยืน การกักเก็บสารอันตรายและกากอุตสาหกรรมไม่ถูกวิธี การลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม หรืออุบัติเหตุจากการขนส่งและจัดการสารอันตราย ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อันนำมาสู่ประเด็นปัญหาทางสุขภาพ ระบบนิเวศ กระทบการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่ซับซ้อน ดังปรากฏเป็นประเด็นในสื่อสารมวลชนแทบจะรายวัน สิ่งที่ตามมาจากการปนเปื้อนสารอันตรายในสิ่งแวดล้อมคือการแพร่กระจายของสารอันตรายไปสู่ตัวกลางสิ่งแวดล้อมต่างๆซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหากไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม การจัดการและการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนสารอันตรายเป็นประเด็นค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศไทยแม้จะมีการปนเปื้อนสารอันตรายในสิ่งแวดล้อมมากกว่า 30 ปีแล้ว (โดยอ้างถึงกรณีการปนเปื้อนสารหนูที่ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช) ก็ยังไม่มีการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนที่เป็นระบบและสำเร็จลุล่วงเกิดขึ้นในประเทศไทย ปัจจุบันมีหลายกรณีการปนเปื้อนสารอันตรายในประเทศไทยที่ต้องการการฟื้นฟู ยกตัวอย่าง เช่น กรณีมาบตาพุด จ.ระยอง กรณีลำห้วยคลิตี้ จ.กาญจนบุรี กรณีพื้นที่ปลูกข้าว จ.ตาก กรณีลักลอบทิ้งน้ำเสียอุตสาหกรรม จ.ฉะเชิงเทรา กรณีเหมือง จ.เลย และกรณีเหมือง จ.พิจิตร
ในขณะที่ประชาชนเริ่มมีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของสารอันตราย และตื่นตัวกับปัญหาการปนเปื้อนสารอันตรายในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ประเทศไทยยังขาดแนวทางที่ชัดเจนและเหมาะสมในการจัดการปัญหาการปนเปื้อนสารอันตรายในสิ่งแวดล้อม (ยังคงไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนสารอันตราย) ขาดมาตรการบังคับใช้ทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ ขาดองค์ความรู้เชิงเทคนิคในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อน และขาดประสบการณ์ในการใช้งานเทคโนโลยีการฟื้นฟูในพื้นที่ปนเปื้อนจริง
หน่วยวิจัย IN3R มีภารกิจเพื่อทำงานวิจัยสนับสนุนการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนและการนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ทั้งในระดับนโยบาย (Policy research) ระดับการสาธิตการใช้เทคโนโลยีในพื้นที่จริง (Pilot or field scale demonstration) และระดับการพัฒนางานวิจัยนวัตกรรมในห้องปฏิบัติการ (Innovative laboratory scale research) เพื่อตอบสนองปัญหาทรัพยากรธรรมชาติปนเปื้อนในประเทศไทยและระดับนานาชาติ โดยมีกลยุทธ์การทำงานวิจัยคือการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานวิจัยผลมีกระทบต่อสังคมคือให้มีการผลักดันการนำงานวิจัยไปใช้แก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติปนเปื้อนและการนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ในพื้นที่จริง และนำงานวิจัยที่เป็นนวัตกรรมระดับโลกในห้องปฏิบัติการไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับเพื่อเป็นหน่วยวิจัยแนวหน้าในสาขานี้ในระดับชาติและนานาชาติ
2. วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
1) เพื่อดำเนินการวิจัย ผลิตงานวิจัย และบริการวิชาการด้านการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนและการนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ทั้งในระดับนโยบาย การพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรม การสาธิตการใช้งานภาคสนาม จนถึงการดำเนินการบำบัดฟื้นฟูจริงในภาคสนามเพื่อสร้างผลผลิตในรูปแบบของ บทความวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติและระดับชาติ สิทธิบัตรรวมถึงการเผยแพร่ผลงานวิจัยผ่านการประชุมวิชาการ เว๊บไซต์ การจัดอบรมและสัมมนาต่างๆ
2) เพื่อสร้างบัณฑิตปริญญาตรี โท และเอกให้มีความรู้ ความสามารถ และความพร้อมในด้านงานวิจัย ตลอดจนการนำความรู้ ทฤษฏีต่างๆ ไปใช้ในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการพื้นที่ปนเปื้อน
3) เพื่อสร้างเครือข่ายงานวิจัยด้านวิศวกรรมการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อน และและการนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่กับหน่วยงานต่างๆ ในและนอกมหาวิทยาลัย
3. ทิศทางการพัฒนางานวิจัย
แนวทางงานวิจัยในระยะ 5 ปี เป็นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้งานจริงเพื่อการสร้างความพร้อมให้ประเทศทั้งในระดับระดับนโยบาย ระดับการสาธิตการใช้เทคโนโลยีในพื้นที่จริง และระดับการพัฒนางานวิจัยนวัตกรรมในห้องปฏิบัติการ ใน 2 แกนหลัก (Core) ดังต่อไปนี้
- การพัฒนานโยบาย กฎหมาย และแนวทางปฏิบัติเพื่อการประเมินและการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนในองค์รวม
- การพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมในห้องปฏิบัติการ การสำรวจพื้นที่ปนเปื้อน และสาธิตการประเมินความเสี่ยง และการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนที่พบจริงในประเทศไทยโดยเน้นที่กรณี
- > ดินและน้ำใต้ดินปนเปื้อนสารอันตรายประเภทสารอินทรีย์ระเหย
- > พื้นที่เกษตรกรรมปนเปื้อนโลหะหนักและสารอินทรีย์อันตราย
- > ตะกอนท้องน้ำและลำน้ำปนเปื้อนโลหะหนักและสารอินทรีย์อันตราย
- > ทรัพยากรธรรมชาติที่เปราะบางและแหล่งผลิตอาหารปนเปื้อนโลหะหนักและสารอินทรีย์อันตราย
- > การกำจัดแหล่งกำเนิดการปนเปื้อนประเภท Non-aqueous Phase Liquid
- > การบำบัดสารปนเปื้อนและการนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ด้วยวิธีทางไฟฟ้าเคมี
- > การใช้อนุภาคนาโนของเหล็กประจุศูนย์และอนุภาคแม่เหล็กเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อน
- > เทคโนโลยีลดผลกระทบต่อสุขภาพจากการปนเปื้อนในระยะสั้น
4. สถานที่ตั้ง
อาคารมหาธรรมราชา โซน C ชั้น 3 และ ห้อง CE 608, CE610 และ CE 617
ชั้น 6 ของอาคารวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
5. บุคลากรในหน่วยวิจัย
บุคลากรหลักของหน่วยวิจัย
รศ.ดร. ธนพล เพ็ญรัตน์ วิศวกรรมโยธา ผู้อำนวยการหน่วยวิจัย
รศ.ดร. พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล วิศวกรรมโยธา
ดร. จิรภัทร์ อนันต์ภัทรชัย วิศวกรรมโยธา
6. ความร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยในและต่างประเทศ
หน่วยวิจัยกำลังดำเนินการวิจัยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และ มหาวิทยาลัย ในประเทศดังนี้
- 1. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- 2. ศูนย์ประสานงานการพัฒนาระบบและ กลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
- 3. ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- 4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิรัฏฐ์ แสนทน ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- 5. รศ.ดร. อรพินท์ เจียรถาวร ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในปัจจุบัน หน่วยวิจัยได้มีการร่วมดำเนินการวิจัยกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศหลายแห่ง ดังนี้
- 1. Prof. Dr. Gregory V. Lowry, the Center for the Environmental Implications of NanoTechnology (CEINT) at Carnegie Mellon University, USA
- 2. Prof. Dr. Robert D. Tilton, Department of Chemical Engineering, Carnegie Mellon University, USA
- 3. Prof. Dr. David A. Dzombak, Faculty Director, Steinbrenner Institute for Environmental Education and Research, Carnegie Mellon University and Associate Editor, Environmental Science and Technology, USA
- 4. Prof. Dr. Robert L. Siegrist, Environmental Science and Engineering, Colorado School of Mines, USA
- 5. Assistant Prof. Dr. Fritjof Fagerlund, Department of Earth Sciences, Program for Air, Water and Landscape Sciences, Uppsala University, Sweden
- 6. Dr. Chunming Su, Groundwater and Ecosystems Restoration Research, US. EPA
- 7. Dr. JitKang Lim, Universiti Sains Malaysia, Malaysia
- 8. Prof. Dr. Taha F. Marhaba, Department of Civil and Environmental Engineering, New Jersey Institute of Technology, USA
7. โครงการวิจัย 13 โครงการ (2554-ปัจจุบัน)
(งบประมาณ 14.15 ล้านบาท)
ปี |
ชื่อโครงการ |
แหล่งทุน |
สถานะ/ผลลัพธ์ |
2556-2556 |
การประเมินความเสี่ยงนิเวศแหล่งน้ำในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยองโดยใช้หอยสองฝาบริเวณชายฝั่งทะเลและทำแนวทางการแก้ไขและการป้องกันการปนเปื้อนสารอันตรายในดินและน้ำใต้ดินแบบบูรณาการพร้อมกลไกสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษาการแพร่กระจายและการสะสมโลหะหนักและสารอินทรีย์กึ่งระเหย |
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
กำลังดำเนินการ |
2556-2557 |
การประเมินความเหมาะสมของการใช้อนุภาคนาโนของเหล็กประจุศูนย์ และผงเหล็กประจุศูนย์ในการปรับเสถียรดินและฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนแคดเมียมในพื้นที่เพาะปลูกข้าว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก |
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร |
กำลังดำเนินการ |
2556-2558 |
การใช้โฟมที่ปรับเสถียรด้วยอนุภาคแม่เหล็กนาโนร่วมกับการเหนี่ยวนำความร้อนทางแม่เหล็กไฟฟ้าในการเร่งการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนสารอินทรีย์ระเหยด้วยวิธีสกัดไอดิน |
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) |
กำลังดำเนินการ |
2555-2556 |
อิทธิพลของชนิดของดินและเคมีธรณีของน้ำใต้ดินในประเทศไทยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการใช้อนุภาคนาโนของเหล็กประจุศูนย์ร่วมกับการเหนี่ยวนำความร้อนทางแม่เหล็กไฟฟ้าในการเร่งการฟื้นฟูน้ำใต้ดินและดินที่ปนเปื้อนด้วยมลสารอินทรีย์ระเหยที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ |
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยนเรศวร |
กำลังดำเนินการ |
2555-2556 |
การจัดทำฐานข้อมูลเทคนิคในการฟื้นฟูดินและน้ำใต้ดินที่ปนเปื้อนสารอันตรายและประเมินภาวะคุกคามของสารอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการจัดการพื้นที่ปนเปื้อนสารอันตรายในน้ำใต้ดิน |
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
เสร็จสิ้น/ได้ฐานข้อมูลเทคนิคในการฟื้นฟูดินและน้ำใต้ดินที่ปนเปื้อนสารอันตรายอันแรกของประเทศ (http://ttigerr.org/) และสาธิตการประเมินภาวะคุกคามจากพื้นที่ปนเปื้อนสารอันตรายเป็นครั้งแรกของประเทศ |
2555-2556 |
โครงการจ้างวิเคราะห์สารไตรคลอโรเอทธิลีนจากการใช้การเหนี่ยวนำความร้อนจากแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับผงเหล็กประจุศูนย์ |
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
เสร็จสิ้น/ 1 บทความทางวิชาการสำหรับตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ (กำลังจัดเตรียมต้นฉบับ) |
2555-2556 |
การใช้อนุภาคนาโนของเหล็กประจุศูนย์ที่ถูกปรับปรุงด้วยโพลีเมอร์ร่วมกับการเหนี่ยวนำความร้อนทางแม่เหล็กไฟฟ้าในการเร่งการฟื้นฟูน้ำใต้ดินและดินในประเทศไทยที่ปนเปื้อนด้วยมลสารอินทรีย์ระเหยที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ |
มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย (เงินทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 18 ประจำปี 2554) |
เสร็จสิ้น/ 1 บทความทางวิชาการสำหรับตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ (กำลังจัดเตรียมต้นฉบับ) |
2554-2555 |
การใช้ประโยชน์จากระบบแนวกันชนหญ้าแฝกรอบนิคมอุตสาหกรรมเพื่อการเฝ้าระวังและตรวจสอบการปนเปื้อนดินและน้ำใต้ดินด้วยสารอันตราย |
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ |
กำลังดำเนินการ/ 1 บทความในวารสารในประเทศ |
2554-2556 |
การศึกษาเชิงพื้นฐานของการใช้อนุภาคแม่เหล็กนาโนที่ถูกปรับปรุงด้วยโพลีเมอร์ในการกำจัดแหล่งกำเนิดของสารอันตรายประเภทสารอินทรีย์ระเหยที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบจากน้ำใต้ดินและดินที่ปนเปื้อนโดยการใช้ความร้อนที่สร้างด้วยการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า |
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
เสร็จสิ้น/ 4 บทความทางวิชาการสำหรับตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ (กำลังจัดเตรียมต้นฉบับ) |
2554-2555 |
การประเมินความเหมาะสมของการใช้อนุภาคนาโนของเหล็กประจุศูนย์ร่วมกับการเหนี่ยวนำความร้อนทางแม่เหล็กไฟฟ้าในการเร่งฟื้นฟูน้ำใต้ดินและดินในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ปนเปื้อนด้วยมลสารอินทรีย์ระเหยที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ |
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร |
เสร็จสิ้น/ 1 บทความทางวิชาการสำหรับตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ (กำลังจัดเตรียมต้นฉบับ) |
2554-2555 |
การประเมินความเหมาะสมของการใช้อนุภาคนาโนของเหล็กประจุศูนย์ที่ถูกปรับปรุงด้วยโพลีเมอร์ร่วมกับการเหนี่ยวนำความร้อนทางแม่เหล็กไฟฟ้าในการเร่งฟื้นฟูน้ำใต้ดินและดินในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ปนเปื้อนด้วยมลสารอินทรีย์ ระเหยที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ |
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
เสร็จสิ้น/ 1 บทความทางวิชาการสำหรับตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ (กำลังจัดเตรียมต้นฉบับ) |
2554-2555 |
การจัดทำรายงานการประเมินความต้องการด้านเทคโนโลยี (TNA Report) และ รายงานการประเมินความต้องการด้านเทคโนโลยี และแผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยี (TNA and TAP Report) โครงการการประเมินความต้องการเทคโนโลยี ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับประเทศไทย |
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ |
ดำเนินการเสร็จสิ้น/ รายงาน TNA and TAP Report ของประเทศไทย |
2554-2555 |
วางระบบโครงข่ายตรวจสอบปริมาณสารอินทรีย์ระเหยในไอสารในดิน (soilgas monitoring network) โดยขุดเจาะชั้นดิน โดยใช้เครื่องขุดเจาะแบบต่อเนื่อง (Geoprobe) และ ติดตั้งระบบและทดสอบประสิทธิภาพในการบำบัดสารอินทรีย์ระเหยในดิน โดยใช้ระบบ Soil Vapor Extraction (SVE) เคลื่อนที่ |
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
ดำเนินการเสร็จสิ้น/ติดตั้งและสาธิตการฟื้นฟูด้วย SVE แห่งแรกในประเทศไทย |
8. ผลลัพธ์จากหน่วยวิจัย
ผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ 7 บทความ ดังต่อไปนี้
- Peerapong Jitsangiam; Suphat Chummuneerat; Tanapon Phenrat; Hamid Nikraz. (2013). Characteristics and Performance of Cement Modified Base Course Material towards Western Australian Experience. Journal of Materials in Civil Engineering (In Press)
- Louie, S. M.; Phenrat, T.; Small, M. J.; Tilton, R. D.; Lowry, G. V. (2012) Parameter Identifiability in Application of Soft Particle Electrokinetic Theory To Determine Polymer and Polyelectrolyte Coating Thicknesses on Colloids. Langmuir, 28 (28), pp 10334–10347
- Kim, H.-J.; Phenrat, T.; Tilton, R.D.; Lowry, G.V. (2012). Effect of kaolinite, silica fines and pH on transport of polymer-modified zero valent iron nano-particles in heterogeneous porous media. Journal of Colloid and Interface Science, 370, (1), 15, pp1-10.
- Fagerlund, F., Illangasekare, T. H.; Phenrat, T.; Kim, H.-J.; Lowry, G. V. (2012). PCE dissolution and simultaneous dechlorination by nanoscale zero-valent iron in a DNAPL source zone. Journal of Contaminant Hydrology, 131, (1–4), 1 pp 9-28.
- Phenrat, T.; Fagerlund, F.; Illangasekare, T.; Lowry, G. V; Tilton, R.D. (2011) Polymer-modified Fe0 Nanoparticles Target Entrapped NAPL in Two Dimensional Porous Media: Effect of Particle Concentration, NAPL Saturation, and Injection Strategy. Environmental Science & Technology, 45 (14), pp 6102–6109.
- Song, J.-E.; Phenrat, T.; Marinakos, S.; Xiao, Y.; Liu, J.; Wiesner, M. R.; Tilton, R. D.; Lowry, G. V. (2011) Hydrophobic Interactions Increase Attachment of Gum Arabic and PVP Coated Ag Nanoparticles to Hydrophobic Surfaces. Environmental Science & Technology, 45 (14), pp 5988–5995.
- Phenrat, T.; Cihan, A.; Kim, H.-J.; Mital, M.; Illangasekare, T.; Lowry*, G. V. (2010) Transport and Deposition of Polymer-Modified Fe0 Nanoparticles in 2-D Heterogeneous Porous Media: Effects of Particle Concentration, Fe0 Content, and Coatings. Environmental Science & Technology 44 (23), pp 9086–9093.
ผลงานตีพิมพ์ในหนังสือต่างประเทศ 1 บท ดังต่อไปนี้
- Phenrat,T.; Crimi, M.*; Illanagasekare, T.; Lowry, G. V. (2011) Reactive Nanoparticles for the Treatment of Chlorinated Dense Nonaqueous Phase Liquids in Soil and Groundwater. Ram, M.; Andreescu, E. S.; Hanming, D. In Nanotechnology for Environmental Decontamination pp 271-322. McGraw-Hill Publisher.
เอกสารประกอบการประชุม/สัมมนาระดับนานาชาติ 5 บทความ
- Phenrat,T.; Kumloet,I.; Malem,F.; Soontorndecha,P.;Lowry,G.V.; Tilton, R.D. (2013) Electromagnetic Induction Heating of Polymer-Modified Nanoscale Zerovalent Iron (NZVI) Accelerates Remediation of Dense Non-aqueous Phase Liquid (DNAPL) Source Zone via Enhanced Dechlorination and NAPL Dissolution. International Conference on Environmental and Hazardous Substance Management (EHWM 2013), Bangkok, Thailand.
- Phenrat, T. (2013 ) "Reactive Nanoscale Zerovalent Iron for In Situ Groundwater and Soil Remediation: Progress, Challenge, and Opportunity". Pure and Applied Chemistry International Conference 2013 "Global Chemical Sciences for Green Community" January 23-25, 2013, the Tide Resort, Bangsaen Beach, Chon Buri, Thailand.
- Phenrat, T. (2012) Integrated Research for Groundwater and Land Restoration. 2012 ProSPER.Net-Scopus Young Scientist Award Symposium. 11 June, 2012, United Nation University, Tokyo, Japan
- Phenrat, T., Malem, F., Soontorndecha, P., Ma, R., Lowry. G.V. (2012) Feasibility evaluation of using polymer-modified nanoscale zerovalent iron (NZVI) together with electromagnetic induction heating to accelerate remediation of groundwater and soil contaminated with volatile chlorinated organic pollutants, the 243rd ACS National Meeting & Exposition, March 25- 29 2012, San Diego, California.
- Phenrat, T., Fagerlund, F., Illangasekare, T., Lowry, G.V., Tilton, R.D. (2012) Polymer-modified Fe0 nanoparticles target entrapped NAPL in 2D porous media, the 243rd ACS National Meeting & Exposition, March 25- 29 2012, San Diego, California.
เอกสารประกอบการประชุม/สัมมนาระดับชาติ 7 บทความ
- ทิพย์วรรณ ทองบุศย์; ธนพล เพ็ญรันตน์; แฟรดาซ์ มาเหล็ม; พีรพงษ์ สุนทรเดชะ (2013) การใช้เหล็กประจุศูนย์ร่วมกับการเหนี่ยวนำความร้อนทางแม่เหล็กไฟฟ้าในการเร่งการฟื้นฟูน้ำใต้ดินที่ปนเปื้อนด้วยสารไตรคลอโรเอทธิลีน, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 18, วันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรมดิเอ็มเพลส เชียงใหม่
- นันธวัฒน์ เบอะเทพ,ธนพล เพ็ญรัตน์, สรัณกร เหมะวิบูลย์, สนธยา ทองอรุณศรี (2556). อิทธิพล ของนาโนซิลิก้าประเภทที่ไม่ชอบน้ำ และประเภทที่ชอบน้ำ ต่อค่าการไหลแผ่ ค่าระยะเวลาการก่อตัว และการขยายตัวเนื่องจากโซเดียมซัลเฟต ของซีเมนต์มอร์ต้า. การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 9
- นันธวัฒน์ เบอะเทพ; ธนพล เพ็ญรัตน์; สรัณกร เหมะวิบูลย์ (2013) อิทธิพลของนาโนซิลิก้าประเภทที่ชอบน้ำ และที่ไม่ชอบน้ำ ต่อระยะเวลาการก่อตัวของซีเมนต์เพสต์ กำลังรับแรงอัด และการต้านทานกรดของซีเมนต์มอร์ต้า, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 18, วันที่ 8-10 พฤษภาคม 2556 ณ โรงแรมดิเอ็มเพลส เชียงใหม่
- ธนพล เพ็ญรัตน์ (2012) “การฟื้นฟูดินและน้ำใต้ดินที่ปนเปื้อนสารอันตรายด้วยวัสดุนาโน และจุลชีพ: ส่งเสริมกัน หรือหักล้างกัน?”17 ตุลาคม 2555. คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- อิสราพงษ์ คุ้มเลิศ, นุชจรี อัมรักษ์, นุสราภรณ์ ธูปประดิษฐ์, แฟรดาซ์ มาเหล็ม, พีรพงษ์ สุนทรเดชะ, ธนพล เพ็ญรัตน์ (2012). “การใช้อนุภาคแม่เหล็กนาโนร่วมกับการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้าในการฟื้นฟูดินและน้ำใต้ดินที่ปนเปื้อนสารอันตรายประเภทสารอินทรีย์ระเหยโดยการกำจัดแหล่งกำเนิดประเภท Non-aqueous Phase Liquid (NAPL) ออกจากชั้นหินอุ้มน้ำ” การประชุมวิชาการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ขึ้นในระหว่างวันที่ 6-7 กันยายน 2555 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น
- ธนพล เพ็ญรัตน์, แฟรดาซ์ มาเหล็ม, พีรพงษ์ สุนทรเดชะ, อาภาภรณ์ จันทร์ปิรักษ์ (2012). “ความเป็นไปได้ในการเร่งการฟื้นฟูดินและน้ำใต้ดินที่ปนเปื้อนสารอินทรีย์ระเหยที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบโดยการใช้อนุภาคนาโนของเหล็กประจุศูนย์ร่วมกับการเหนี่ยวนำความร้อนทางแม่เหล็กไฟฟ้า”การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 17, 9-11 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์แอนคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ อุดรธานี
- Phenrat, T., Illangasekare, T., Lowry, G.V., Tilton, R. D. (2011) Delivering Polymer-modified Fe0 Nanoparticles to NAPL Source Zones for In Situ Subsurface Remediation. The 10st International Conference on Environmental Science, Engineering and Management, 23-25 March, 2011, BP Beach and Resort, Songkla.
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม
- เครื่องสกัดไอดิน
- เครื่องผลิตและจ่ายโอโซนเพื่อบำบัดสารฟีนอลในน้ำบ่อตื้นที่ ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม
การจัดประชุมวิชาการ หรือ การจัดอบรมสัมมนา
- การประชุมเสนอความคืบหน้าการดำเนินงาน
- โครงการ “การประเมินความเสี่ยงนิเวศแหล่งน้ำในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง โดยใช้หอยสองฝาบริเวณชายฝั่งทะเลและทำแนวทางการแก้ไขและการป้องกันปนเปื้อน สารอันตรายในดินและน้ำใต้ดินแบบบูรณาการพร้อมกลไกสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษาการแพร่กระจายและการสะสมโลหะหนักและสารอินทรีย์กึ่งระเหย” วันพฤหัสบดีที่ 24ตุลาคม 2556 ณ ห้องประชุม 303 และ 304 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 49พระราม 6 ซอย 30
พญาไท กรุงเทพมหานคร
- การประชุมวิชาการ “งานวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อการเฝ้าระวังและการฟื้นฟูผลกระทบต่อสุขภาพและ สิ่งแวดล้อมจากการปนเปื้อนสารอันตราย”ในงานนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 9 28-29 กรกฎาคม 2556 ณ ห้องประชุม QS3209 อาคารเรียนรวมเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
- การบรรยายพิเศษหัวข้อ “อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของวิศวกรรมเพื่อการลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมา จากการจัดการสารอันตรายในอุตสาหกรรมที่ไม่ยั่งยืน” ในงานครบรอบ 20 ปีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00-16.00ณ ห้องประชุม Slope CE คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
- การประชุมเสนอผลการดำเนินงานโครงการ “การจัดทำฐานข้อมูลเทคนิคในการฟื้นฟูดินและน้ำใต้ดินที่ปนเปื้อนสารอันตราย และประเมินภาวะคุกคามของสารอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการจัดการพื้นที่ปน เปื้อนสารอันตรายในน้ำใต้ดิน วันพุธที่ 24 เมษายน 2556 ณ ห้องประชุม 303 และ 304 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 49 พระราม 6 ซอย 30 พญาไท กรุงเทพมหานคร
บัณฑิตในระดับปริญญาโท/เอก
นิสิตปริญญาเอก = 1 คน
นิสิตปริญญาโท = 11 คน
นิสิตปริญญาตรี = 32 คน
นิสิตแลกเปลี่ยนต่างชาติ = 1 คน
- 54061779 นางสาวทิพย์วรรณ ทองบุศย์
- 55063307 เรืออากาศตรีเจษฎา ลาวัลย์
- 55063321 นางสาวนภัสนันท์ จอกทอง
- 55063345 นายปรัชญา ชาปัด
- 55063352 นายพิพัฒน์ พิทักษ์สุธีพงศ์
- 55063383 นางสาวภัทราวดี วิเศษสิงห์
- 55063420 นายอิสราพงษ์ คุ้มเลิศ
- 56061739 นางสาวจิราภรณ์ สุขอินทร์
- 56061760 นางสาวนุสราภรณ์ ธูปประดิษฐ
- 56061807 นายอภิชาติ จันทฤทธิ์
การเผยแพร่ทาง Multimedia ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
Website:
โทรทัศน์:
- รายการคลุกวงข่าว 4 กันยายน 2555 (ช่อง 9)
ผลการดำเนินการอื่น ๆ
|
Website
Comming Soon...
Director
Mailing Address
อาคารมหาธรรมราชา โซน C ชั้น 3 และ ห้อง CE 608, CE610 และ CE 617
ชั้น 6 ของอาคารวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
|