คณะวิศวกรรมศาสตร์ > การวิจัย > หน่วยวิจัย
Energy for Environmentหน่วยวิจัยด้านพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผาพลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อให้เกิดพลังงานมีผลทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อลดปัญหาดังกล่าว แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 (PDP 2010) จึงได้กำหนดเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อย CO2 ต่อหน่วยพลังงานไฟฟ้าให้ลดลงอยู่ในระดับ 0.387 kg CO2/kWh ในปี พ.ศ. 2563 นอกจากนี้แผน PDP 2010 ยังกำหนดให้มีการกระจายแหล่ง/ประเภทเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับผลิตไฟฟ้า ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในด้านการจัดการและยังเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งในเรื่องพลังงานหมุนเวียนถือได้ว่าเป็นพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันภาครัฐได้กำหนดเป็นนโยบายและมาตรการสนับสนุนโครงการทางด้านพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมไว้หลายแนวทาง เช่น 1.กำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนของประเทศโดยการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานสุดท้ายของประเทศในปี พ.ศ.2565 2.กำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Adder) สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (ผลิตขายไฟฟ้าเข้าระบบตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป) และขนาดเล็กมาก (ผลิตขายไฟฟ้าเข้าระบบไม่เกิน 10 เมกะวัตต์) 3.ส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพัฒนาพลังงานทดแทน โดยการให้ความช่วยเหลือในส่วนทุนแก่ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพการพัฒนาแต่ขาดปัจจัยการลงทุน
ดังที่กล่าวมาเป็นปัจจัยผลักดันการพัฒนาทางด้านพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแยกเป็นประเภทได้ดังนี้ 1.พลังงานชีวมวล 2.พลังงานก๊าซชีวภาพ 3.พลังงานขยะ 4.พลังงานลม 5.พลังงานแสงอาทิตย์ 6.พลังงานน้ำ
สำหรับหน่วยวิจัยนี้ ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานวิจัยด้านพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งลักษณะงานวิจัยเป็น 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1.Bio-Energy ประกอบด้วย พลังงานชีวมวล (Biomass) พลังงานจากสาหร่าย (Algae) พลังงานก๊าซชีวมวล ( Biogas) 2.Waste to Energy 3.Wind & Solar Energy 4.Green Building
วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
ทิศทางการดำเนินงานวิจัย
แนวทางงานวิจัยในระยะ 5 ปี เป็นงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาเพื่อสามารถใช้งานได้จริงในทางปฏิบัติ
บุคลากรในหน่วยวิจัย5.1 บุคลากรหลักในการทำงานวิจัยของหน่วยวิจัย
ความร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยภายนอกและแนวทางการดำเนินงานวิจัยและการสร้างเครือข่าย
ในปัจจุบัน หน่วยวิจัยได้มีการร่วมดำเนินการวิจัยกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศหลายแห่ง ดังนี้
นอกจากนี้ หน่วยวิจัยคาดว่าจะดำเนินการวิจัยร่วมกับหน่วยงานและบริษัทเอกชน ดังนี้
ทุนวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนและที่กำลังดำเนินการ ณ ปัจจุบันปัจจุบันหน่วยวิจัยได้ดำเนินการส่งข้อเสนอเพื่อรับทุนสนับสนุนการวิจัย โดยสถานะของงานวิจัย แสดงดังตาราง
สถานที่ตั้งห้อง CE 625 ,CE 619, CE 621 ชั้น 6 ของอาคารวิศวกรรมโยธา
ค่าวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์
ผลลัพธ์จากหน่วยวิจัยหน่วยวิจัยได้ตั้งเป้าหมายในแต่ละปีดังนี้
2.1) ตีพิมพ์วารสารระดับชาติ ปีละไม่น้อยกว่า 2 เรื่อง
ผลลัพธ์จากหน่วยวิจัย •1. Humidity Control Using Air Volume Flow Rate Adjustment for Inverter Air-Conditioner ตีพิมพ์วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวรฉบับพิเศษ
•Reducing condenser Temperature by Evaporative Cooling กำลังส่งนิทรรศการโครงงานนิสิตของภาควิชาและมหาวิทยาลัยนเรศวร
•การประยุกต์ใช้การบำบัดขยะชุมชนโดยวิธีเชิงกล-ชีวภาพ แบบกั้นกองหมัก Passively Aerated Window Static Pile, วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 : หน้า 1-13.
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดผลลัพธ์ของหน่วยวิจัย1. การผลิตบัณฑิต ระดับปริญญาเอก 2 คน ภายในระยะเวลา 5 ปี ผลการดำเนินการอื่น ๆ1. ได้รับนักศึกษาต่างชาติมาศึกษาในระดับปริญญาเอก 1 คน และระดับปริญญาโท 2 คน โดยจะเข้าศึกษาในภาคการศึกษาปลาย / 2556 |
WebsiteComming soon...DirectorEmail : dondejt@nu.ac.th
Telephone : 0-5596-4126, 0-5596-4034
Personnel in the agency
รศ.ดร.ดลเดช ตั้งตระการพงษ์ (หัวหน้าศูนย์วิจัย) รศ.ดร.ปฐมศก วิไลพล (คณะผู้ร่วมวิจัย) ผศ.ดร.นินนาท ราชประดิษฐ์ (คณะผู้ร่วมวิจัย) Staff Contact
-
Mailing Address
ห้อง CE 625 ,CE 619, CE 621 ชั้น 6 อาคารวิศวกรรมโยธา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 |