หน่วยวิจัยด้านการศึกษา และพัฒนาระบบโครงสร้างสะพาน และระบบขนส่งทางราง
ที่มาและความสำคัญของหน่วยวิจัย
ปัจจุบันการขนส่งทางรางเป็นการขนส่งที่ใช้ต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพสูง เมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งทางบกอื่นๆ ดังนั้นฝ่ายบริหารของประเทศได้จัดสรรงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อการพัฒนาระบบขนส่งทางรางดังกล่าว ดังจะเห็นได้ว่ามีรถไฟสายต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมาณฑลได้รับความสำคัญจากทุกรัฐบาลและได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการจัดทำแผนแม่บทฉบับแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ตามโครงการแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (MTMP) ซึ่งเสนอให้พัฒนาโครงข่ายระยะทาง 135 กิโลเมตรภายในปี พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2554 และต่อมาได้มีการเสนอแนะระบบขนส่งมวลชนขนาดรองเพื่อเสริมการเข้าถึงระบบหลักอีก 11 โครงการ ระยะทางรวม 206 กิโลเมตร
ภายหลังจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านฐานะทางการเงินของประเทศและรูปแบบการเดินทางของประชาชน สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้จัดทำแผนแม่บทการขนส่งมววลชนระบบรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่เสี่ยงต่อเนื่อง (URMAP) ขึ้นเมื่อพ.ศ. 2543 เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทในกาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ โดยมีพื้นฐานจากโครงการในแผนแมม่บทที่ผ่านมา เสนอแนะแนวคิดโครงข่ายแบบรัศมีและวงแหวนพร้อมกำหนดศูนย์กลางการคมนาคม 3 แห่ง เป็นจุดเชื่อมการเดินทาง ได้เสนอแนะโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนระยะทางรวม 375 กิโลเมตร แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ช่วงของการปรับปรุงดารพัฒนา พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2554 เสนอแนะเส้นทาง 141.9 กิโลเมตร
ระยะที่ 2 ช่วงของการพัฒนาใหม่ที่ยั่งยืน พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2564 เสนอแนะเส้นทาง 158.2 กิโลเมตร
ระยะที่ 3 เสนอแนะเพื่อการพัฒนาในระยะยาว หลัง พ.ศ. 2565 เสนอแนะเส้นทาง 75.3 กิโลเมตร
โดยจัดทำแผนการลงทุนแบบค่อยเป็นค่อยไปตามพื้นฐานสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น โดนกำหนดงบลงทุนเฉลี่ยปีละประมาณ 16,000 ล้านบาทในช่วง 10 ปีแรก และเพิ่มเฉลี่ยปีละ 21,000 ล้านบาทในช่วง 10 ปีถัดไปและในระยะเวลามากกว่า 20 ปี
อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางเป็นไปอย่างล่าช้า ประกอบกับสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น สนข. ในฐานะผู้รับผิดชอบหลักในการพัฒนาระบบขนส่งของประเทศได้จัดทำโครงการแปลงแผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องไปสู่การปฏิบัติ (BMT) โดยมุ่งเน้นการจัดทำแผนระยะเร่งด่วนโดยการคัดเลือกโครงการตามแผน URMAP ที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนขึ้นมาจัดทำเป็นแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ ระยะที่ 1 เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติโดยมีระยะเวลา 6 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547-พ.ศ.2552 แผนแม่บทฉบับนี้ยังคงยึดแนวคิดรูปแบบโครงข่ายแบบรัศมีและวงแหวนของของแผน URMAP เป็นหลักและการทำการรวบรวมโครงการในแผนของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทยและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเข้ามาเพื่อพิจารณาปรับลดแนวเส้นทางให้สอดคล้องกับการใช้ที่ดินโดยเน้นให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินหนาแน่นภายในวงแหวนรัชดาภิเษกและกำหนดแนวเส้นทางเชื่อมต่อไปยังแหล่งชุมชนสำคัญภายในเขตวงแหวนรอบนอกหรือรัศมีประมาณ 20 กิโลเมตรจากศูนย์กลางของเมืองจนได้เป็นแผนแม่บทโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ ระยะที่ 1 รวมทั้งหมด 7 เส้นทางระยะทางรวม 291 กิโลเมตร ที่ถือเป็นแผนแม่บทที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและใช้เป็นโครงข่ายหลักดำเนินงานปฏิบัติต่อมา
สำหรับการพัฒนารถไฟสายสีเขียวเข้ม ส่วนต่อขยายนั้นคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 เห็นชอบในหลักการแนวทางพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามลำดับความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนรวม 4 โครงการ 5 เส้นทาง ได้แก่
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ)
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ)
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (ช่วงบางซื่อ-รังสิต และชาวงบางซื่อ-ตลิ่งชัน)
4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว
- สายสีเชียวเข้ม (ช่วงหมอชิด-สะพานใหม่)
- สายสีเชียวอ่อน (ช่วงอ่อนนุช-สมุทรปราการ)
ซึ่งในปัจจุบันนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงอ่อนนุช-สมุทรปรการและสายสีเขียวเข้มช่วงหมอชิด-สะพานใหม่ได้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ และอยู่ในขั้นตอนการเตรียมก่อสร้าง
ขอบข่ายของงานวิจัย
เพื่อดำเนินการวิจัยเสริมสร้างศักยภาพในการวิจัยในระดับนานาชาติและโครงการความร่วมมือทางด้านวิชาการกับบุคลากรในสถาบันที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ
เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถ มีความพร้อมในเชิงทฤษฎีและการปฏิบัติการในสายงายด้านวิศวกรรมโครงสร้าง/สะพาน และวิศวกรรมระบบราง
เพื่อให้บริการวิชาการและเป็นศูนย์กลางของข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมโครงสร้าง/สะพานและวิศวกรรมระบบราง สำหรับภาครัฐและเอกชน
สถานที่ตั้ง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 หมู่ที่ 9 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
บุคลากรในหน่วยวิจัย
ที่ |
ชื่อ-นามสกุล |
ตำแหน่งในหน่วยวิจัย |
1 |
ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา |
หัวหน้าหน่วยวิจัย |
2 |
ผศ.ดร.สสิกรณณ์ เหลืองวิชชเจริญ |
คณะผู้ร่วมวิจัย |
3 |
ดร. ทรงศักดิ์ สุธาสุประดิษฐ |
คณะผู้ร่วมวิจัย |
อุปกรณ์/เครื่องมือของหน่วยวิจัย
-