Research Innovation at the Faculty of Engineering, Naresuan University |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ > การวิจัย > หน่วยวิจัย
Research Unit for Creative Bio-containers for Sustainable Eco-society : CBCหน่วยวิจัยภาชนะรองรับทางชีวภาพอย่างสร้างสรรค์เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จากปัญหาการใช้ภาชนะทั่วโลกที่ผลิตจากโฟมและพลาสติกต่างๆ หากนำไปใส่อาหารร้อนและอาหารที่มีความเป็นกรดสูงอาจจะมีผลให้เกิดการทำปฏิกิริยากับสารที่ใช้ผลิตทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น สารพิษสไตรีน (Styrene) ที่อาจเกิดการแตกตัวออกมาจากภาชนะที่ทำจากโฟมได้ และมีโอกาสละลายปะปนกับอาหาร เมื่อมีการใช้สะสมเป็นระยะเวลานาน การสะสมอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้ อีกทั้งอาจไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายและระบบประสาทได้ดังแสดงในแผนภาพรูปที่ 1 ดังนั้นภาชนะจากใบไม้สดจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนคนไทย อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ง่าย การย่อยสลายขยะพลาสติกบางชนิดจำนวนหนึ่งชิ้นอาจต้องใช้ระยะเวลาอย่างต่ำถึง 500 ปี ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีส่วนช่วยทั้งเรื่องสุขภาพ การรักษาสิ่งแวดล้อม และการลดภาวะโลกร้อน (Global warming) ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ หากทุกคนในทุกประเทศร่วมมือร่วมใจกันช่วยลดการใช้ผลิตภัณฑ์จากสารเคมีสังเคราะห์ต่างๆ และเริ่มกลับมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดดังเช่นในอดีต งานวิจัยนี้ริเริ่มจากแนวคิดของพระอาจารย์สายวัดป่าในช่วงปี พ.ศ. 2556 โดยเป็นแนวคิดในการใช้วัสดุธรรมชาติจากใบไม้มาเป็นภาชนะรองรับอาหารในโรงทานของวัดเพื่อทดแทนภาชนะโฟม ที่ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาขยะโฟมล้นวัดต่างๆในช่วงการจัดงานบุญและโรงทานแจกจ่ายอาหาร ผนวกกับแนวทางตามรอยเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 หรือ ศาสตร์ของพระราชา ผู้วิจัยจึงเริ่มคิดกระบวนการผลิตด้วยการเริ่มต้นสร้างเครื่องแบบอย่างง่ายและเหมาะสมกับการใช้งานในวัด พร้อมทั้งหาใบไม้ที่เหมาะสมและมีมากในประเทศมาใช้ในการผลิต โดยในการผลิตเริ่มแรกใช้เพื่อรองรับการใช้งานของโรงทานสายวัดป่าเท่านั้น ที่ซึ่งเป็นแนวคิดเดิมที่ผู้วิจัยได้ตั้งใจและทำการศึกษาพร้อมกับคณะอาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งเดิมผู้วิจัยทำงานที่นั้นมาเกือบ 20 ปี ผลจากการวิจัยได้เครื่องต้นแบบเพื่อทำการผลิตผลิตภัณฑ์ชามใบไม้ อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถหาใบไม้ที่เหมาะสมและดีพอกับการนำไปใช้ได้จริงเท่าที่ควร ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ไม่เป็นรูปทรงที่ดีนัก และจากการที่เครื่องต้นแบบสำหรับการผลิตที่ได้สร้างขึ้นทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือได้มอบให้ทางวัดไว้ใช้ประโยชน์ ผู้วิจัยจึงยังคงดำเนินงานพัฒนาต่อยอดวิธีการผลิตและทำการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อให้วัดได้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนางานวิจัยนี้ยังคงดำเนินต่อไปในรูปแบบที่ไม่ได้รับงบสนับสนุนการวิจัย โดยเป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นเพื่อทำการศึกษาความรู้ในด้านวิชาการและการนำไปใช้จริง ขอบข่ายของงานวิจัยระยะต้น (1-2 ปี)
ระยะกลาง (3-5 ปี)
ระยะยาว (หลังจาก 5 ปี)
สถานที่ตั้งIE 615 เพื่อใช้สำหรับงานสร้างและพัฒนาเครื่องมือด้านฮาร์ดแวร์ รวมทั้งเพื่อพัฒนากระบวนการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการสินค้าเกษตรเชิงคุณภาพอย่างครบวงจร ใช้การประมวลผลทางสถิติต่างๆ และการนำระบบทางโลจิสติกส์สมัยใหม่เข้ามาใช้ในการขนส่งวัตถุดิบและสินค้า บุคลากรในหน่วยวิจัย
กิจกรรมการวิจัยงานวิจัยที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
อุปกรณ์/เครื่องมือของหน่วยวิจัย
|
WebsiteComming soon...DirectorEmail : samornh@hotmail.com
Telephone : 055-964198
Personnel in the agency
รศ.ดร.สมร หิรัญประดิษฐกุล (หัวหน้าหน่วยวิจัย) ผศ.ดร.สุธนิตย์ พุทธพนม (นักวิจัย) ผศ.ดร.ขวัญชัย ไกรทอง (นักวิจัย) ผศ.ดร.สุเมธ เหมะวัฒนะชัย (นักวิจัย) Staff Contact
-
Mailing Address
ห้อง IE 615 ชั้น 6
อาคารวิศวกรรมอุตสาหการ-เครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทรศัพท์: 0-5596-4256, 0-5596-4255 โทรสาร: 0-5596-4003 |