Research Innovation at the Faculty of Engineering, Naresuan University |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ > การวิจัย > หน่วยวิจัย
Research Unit of Biomedical Engineering and Innovation for Social Equalityหน่วยวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์และนวัตกรรมเพื่อความเสมอภาคทางสังคม จากเป้าหมายหลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13ได้กำหนดหลัก 5 ประการ คือ (1) ปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม (2) พัฒนาคนสู่โลกยุคใหม่ (3) มุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม (4) เปลี่ยนผ่านการผลิตและการบริโภคไปสู่ความยั่งยืน และ (5) เสริมสร้างความสามารถของไทยในการรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบทโลกใหม่ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักวิจัยจำนวนหนึ่งภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยนเรศวรของกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกลุ่มมนุษยศาสตร์ ได้ให้ความสนใจและเริ่มมีงานวิจัยด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์และนวัตกรรมเพื่อความเสมอภาคทางสังคมสำหรับผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ยังได้เริ่มการทำวิจัยร่วมกันกับนักวิจัยในกลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานภายนอกที่ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ผลจากการร่วมมือและปรึกษาหารือกันระหว่างนักวิจัยทั้งสองกลุ่มมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้มาซึ่งโจทย์วิจัยจำนวนมากที่สะท้อนปัญหาการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่แท้จริงของประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นโจทย์ที่สามารถประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการผลักดันให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น สร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัย ขยายการยอมรับในระดับประเทศและระดับสากล และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนรศวรด้วยเหตุนี้ จึงใคร่ขอพิจารณาจัดตั้ง “หน่วยวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์และนวัตกรรมเพื่อความเสมอภาคทางสังคม (Research Unit of Biomedical Engineering and Innovation for Social Equality)“ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสมาชิกในการผลิตบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวเวช พร้อมสร้างผลงานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานทางการแพทย์ การประดิษฐ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ และการพัฒนาต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ไปสู่การเป็นนวัตกรรมการให้บริการทางการแพทย์ที่เน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมในกลุ่มเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาภายในประเทศเป็นหลัก โดยอาจขยายผลนวัตกรรมไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไปได้ด้วยการลดการนำเข้าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศ ลักษณะหน่วยวิจัยหน่วยวิจัยที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านวิชาการนวัตกรรม และการบริการวิชาการให้เกิดการบูรณาการทุกศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมุ่งสู่ความเป็นเลิศงานวิจัยด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ซึ่งเป็นสหวิทยาการที่สามารถนำผลงานวิจัยไปต่อยอดองค์ความรู้พื้นฐานได้ทุก ๆ สาขาที่เพิ่มคุณค่าการคิดเชิงนวัตกรรม เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลง ที่ส่งเสริมการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข สู่สังคมด้วยความเสมอภาคทุกระดับในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ วัตถุประสงค์
สถานที่ตั้งห้อง EE510 ชั้น 5 อาคารเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 บุคลากรในหน่วยวิจัย
กิจกรรมการวิจัยงานวิจัยที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
งานวิจัยที่กำลังดำเนินการ
ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ที่ผ่านมาอุปกรณ์/เครื่องมือของหน่วยวิจัย
|
WebsiteBiomedical Engineering ProgramDirectorASSOC. PROF. DR. SUCHART YAMMEN Email : sucharty@nu.ac.th
Telephone : 0-5596-4288
Personnel in the agency
รศ.ดร. สุชาติ แย้มเม่น (หัวหน้าหน่วยวิจัย) รศ.ดร. สุเมธ เหมะวัฒนะชัย (นักวิจัย) ดร. ปัญญวัณ ล าเพาพงศ์ (นักวิจัย) ผศ.ดร. ปิยนันท์ บุญพยัคฆ์ (นักวิจัย) ดร. ศิริกาญจน์ ขันสัมฤทธิ์ (นักวิจัย) ผศ.ดร. ศิริพร เดชะศิรารักษ์ (นักวิจัย) ดร. แสงชัย มังกรทอง (นักวิจัย) ดร. ศลิษา วีรพันธุ์ (นักวิจัย) ดร. สุรเดช จิตประไพกุลศาล (นักวิจัย) ดร. จิราพร พุกสุข (นักวิจัย) ดร. จิรารัตน์ เอี่ยมสอาด (นักวิจัย) อาจารย์ ภาณุพงศ์ สอนคม (นักวิจัย) อาจารย์ รัฐภูมิ วรานุสาสน์ (นักวิจัย) ผศ.ดร. นินนาทราชประดิษฐ์ (นักวิจัย) ผศ.ดร. พรพิศุทธิ์ วรจิรันตน์ (นักวิจัย) ผศ.ดร. ปาจรีย์ ทองสนิท (นักวิจัย) ดร. เศรษฐา ตั้งค้าวานิช (นักวิจัย) Staff Contact
ชื่อ - นามสกุล : รศ.ดร.สุชาติ แย้มเม่น
ห้องทำงาน : EE426 โทรศัพท์ภายใน : 0-5596-4288 อีเมล์ : sucharty@nu.ac.th Mailing Address
ห้อง EE510 ชั้น 5 อาคารเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทรศัพท์: 0-5596-4288 โทรสาร: 0-5596-4000 |