- Libraries
- myEnineering
- Webmail
- Blackboard
- OASIS
- Academic Calendar
- Registration
- Schedule of Classes
- OTiS
- Daily Trojan
- Maps
- Directories
Research Innovation at the Faculty of Engineering, Naresuan University |
Research Innovation at the Faculty of Engineering, Naresuan University |
Computer Vision and Human Interaction Technologies Laboratory: Vision Lab•Human-computer interaction through the computer vision
•Computer vision software and related devices development
ในบรรดาประสาทสัมผัสของมนุษย์ทั้งหมดนั้น การมองเห็นหรือประสาทสัมผัสทางตาเป็นประสาทสัมผัสที่มนุษย์ใช้ในการดำเนินชีวิตมากที่สุด ดังนั้นกิจกรรม สิ่งประดิษฐ์ สถาปัตยกรรม ภาษา ศิลปะ วัฒนธรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ของมนุษย์ส่วนใหญ่ล้ววนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองการมองเห็นที่เป็นหลัก การจะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับการใช้งานของมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ การโต้ตอบระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (Human and computer interactions) โดยเฉพาะการโต้ตอบที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นและข้อมูลเชิงภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถแยกแยะข้อมูล รับรู้และเข้าใจข้อมูลเชิงภาพได้ใกล้เคียงหรือดีกว่ามนุษย์ นอกจากนี้จะต้องทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลและตอบโต้กับมนุษย์ได้ ซึ่งการจะทำให้คอมพิวเตอร์มีวคามสามารถเช่นนั้นต้องอาศัยศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์ (computer vision) การประมวลผลภาพดิจิตัล (digital image processing) คอมพิวเตอร์กราฟฟิค (computer graphics) ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องจักร (artificial intelligence and machine learning) เป็นต้น องค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดงานแก่สังคมและประเทศชาติได้อย่างกว้างขวาง เช่น การแพทย์ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การคมนาคมขนส่ง นิติวิทยาศาสตร์ การทหาร การรับรู้ระยะไกลและอวกาศ เป็นต้น ประเทศไทยซึ่งมีการกำหนดเป้าหมายให้เป็นศูนย์กลางในหลายๆ ด้าน เช่น การเป็นผู้ด้านการเกษตรและอาหารของโลก การเป็นศูนย์กลางการผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมยานยนต์ การเป็นศูนย์กลางการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการที่ประเทศไทยรับเป็นผู้ประสานงานหลักในสาขาการท่องเที่ยวและการบิน สำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ดังนั้นการสนับสนุนและการพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน เพื่อให้ทันกับการเป็นศูนย์กลางทางด้านต่างๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะการรวมตัวของประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นปนะชาคมอาเซียนที่จะมาถึงในปีพ.ศ. 2558 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเล็งเห็นว่าศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับทัศนศาสตร์คอมพิเตอร์ และการโต้ตอบระหว่างมนุษย์กับคอมพิเตอร์มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ จึงสนับสนุนให้คณาจารย์และนิสิตได้ศึกษาและวิจัยศาสตร์และเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อผลิตผลงานทางวิชาการ สิ่งประดิษฐ์แลพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งการจะสร้างผลงานที่มีคุณภาพนั้นจำเป็นจะต้องมีหน่วยวิจัยหรือห้องปฏิบัติการเฉพาะทาง และการมีหน่วยวิจัยดังกล่าวนั้น นอกจากจะส่งเสริมการผลิตผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์แล้วยังเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ทั้งในรูปแบบของการวิจัยร่วมกัน และการยริการทางวิชาหารที่จะมีต่อไปในอนาคต และสุดท้ายจะช่วยทำให้เกิดผลงานที่ส่งเสริมและสนันสนุนการพัฒนาประเทศ และยังเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแช่งขันของบุคคลากรทางด้าวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ของไทยเพื่อรองรับการรวมตัวกันของประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้ วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
กรอบ แผนงานและทิศทางการดำเนินงานวิจัย
ทิศทางการดำเนินงานวิจัย
การวิจัยจะเน้นที่
ความร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยภายนอกและแนวทางการดำเนินงานวิจัยและการสร้างเครือข่ายปัจจุบันหน่วยวิจัยมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่อไปนี้ ทุนวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนและที่กำลังดำเนินการ ณ ปัจจุบันไม่มีสถานที่ตั้ง (ระบุตำแหน่งของห้องวิจัยซึ่งต้องได้รับการอนุมัติจากทางภาควิชา)ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (หมายเหตุ ต้องรอคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ย้ายออกก่อนถึงจะมีห้อง เนื่องจากปัจจุบันห้องที่มีอยู่ในปัจจุบันล้วนแต่ใช้งานหมดแล้ว)
|
WebsiteComming soon...DirectorEmail : panomkhawn@hotmail.com
Telephone : 0-5596-4365
Personnel in the agency
ผศ.ดร. พนมขวัญ ริยะมงคล (หัวหน้าศูนย์วิจัย) รศ.ดร. ไพศาล มุณีสว่าง (คณะผู้ร่วมวิจัย) ดร. สุรเดช จิตประไพกุลศาล (คณะผู้ร่วมวิจัย) นายรัฐภูมิ วรานุสาสน์ (คณะผู้ร่วมวิจัย) นางสาวจิราพร พุกสุข (คณะผู้ร่วมวิจัย) นายเศรษฐา ตั้งค้าวานิช (คณะผู้ร่วมวิจัย) Staff Contact- Mailing Address
-
|