- Libraries
- myEnineering
- Webmail
- Blackboard
- OASIS
- Academic Calendar
- Registration
- Schedule of Classes
- OTiS
- Daily Trojan
- Maps
- Directories
Research Innovation at the Faculty of Engineering, Naresuan University |
Research Innovation at the Faculty of Engineering, Naresuan University |
Research Unit for Integrated Natural Resources Remediation and Reclamation: IN3R•Synthesis and application of nanomaterial
•Nanotechnology application in environment and pollution control
•Toxicity, environmental and health risks of nanomaterial
•Application of nanomaterial in electronics or construction industry.
จากการที่ปัจจุบันได้มีการพัฒนานาโนเทคโนโลยีจากห้องปฏิบัติการสู่งานอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก งานวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีได้กลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะเฉพะ หรือ ที่เรียกว่า smart material โดยการนำวัสดุนาโนไปใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายชนิดเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะและคุณสมบัติพิเศษตามที่ต้องการ รวมไปถึงการนำวัสดุนาโนมาใช้ในการกำจัดมลพิษ และป้องกันสิ่งแวดล้อมกันอย่างแพร่หลาย เช่น ในการกำจัดของเสียที่ย่อยสลายได้ยากในน้ำ การกำจัดสารปนเปื้อนในดิน การฟื้นฟูพื้นที่ที่ปนเปื้อนกับกากของเสียอุตสาหกรรม รวมทั้งการกำจัดมลพิษทางอากาศ เป็นต้น จึงทำให้งานด้านนาโนเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
งานวิจัยที่นำนาโนเทคโนโลยีใช้งานในการสนับสนุนงานวิจัยด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานวิจัยด้านวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมโดยตรง เช่น การนำวัสดุนาโนไปใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง การนำวัสดุนาโนไปใช้ในงานด้านอิเลคทรอนิคส์ เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน1) เพื่อดำเนินการวิจัยและผลิตงานวิจัยในส่วนของงานวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบของ บทความวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติและระดับชาติ สิทธิบัตร รวมถึงการเผยแพร่ผลงานวิจัยผ่านการประชุมวิชาการ การจัดอบรมและสัมมนาต่างๆ2) เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ และความพร้อมในด้านงานวิจัย ตลอดจนการนำความรู้ ทฤษฏีต่างๆ ไปใช้ในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) เพื่อสร้างเครือข่ายงานวิจัยด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และเครือข่ายงานนาโนเทคโนโลยีกับหน่วยงานต่างๆ ในและนอกมหาวิทยาลัย ทิศทางการพัฒนางานวิจัยแนวทางงานวิจัยในระยะ 5 ปี เป็นงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาเพื่อสามารถใช้งานในระดับอุตสาหกรรมได้ โดยวางแนวทางการวิจัยไว้ดังนี้- การสังเคราะห์วัสดุนาโนและการใช้งานในการกำจัดมลพิษ เช่น การสังเคราะห์วัสดุนาโนเพื่อนำไปใช้กับการกำจัดโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ำเสียอุตสาหกรรม การสังเคราะห์วัสดุนาโนในการกำจัดสารอินทรีย์ที่ปนเปื้อนในดิน เป็นต้น - การศึกษาผลกระทบของวัสดุนาโนที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ เช่น ผลกระทบของวัสดุนาโนต่อการเจริญเติบโตของพืช ผลกระทบของวัสดุนาโนที่มีต่อระบผลิตน้ำประปา หรือ ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น รวมไปถึงงานวิจัยเชิงนโยบายด้านความปลอดภัยของวัสดุนาโน การจัดทำอุปกรณ์ด้านวิศวกรรมความปลอดภัยในการป้องกันการได้รับวัสดุนาโน เช่น การจัดทำตู้ดูดควันสำหรับงานวิจัยด้านวัสดุนาโน เป็นต้น - การสังเคราะห์วัสดุนาโนเพื่อใช้ในการผลิตวัสดุก่อสร้าง เช่น ซีเมนต์ เป็นต้น เพื่อให้วัสดุนั้นๆ มีลักษณะสมบัติพิเศษ เช่น วัสดุฉลาดที่สามารถรับแรงและกำจัดมลพิษทางอากาศได้ วัสดุนาโนที่เพิ่มลักษณะสมบัติพิเศษในด้านของ plasticizer, shrinkage, durability ให้กับซีเมนต์ การผลิตวัสดุก่อสร้างที่สามารถป้องกันเชื้อราและทนทานต่อการกัดกร่อน เป็นต้น - การพัฒนาวัสดุนาโนเพื่อใช้ในการเกษตร เช่น การพัฒนาสารปรับปรุงดิน หรือ ปุ๋ยนาโน เพื่อกำจัดสารตกค้างในดิน เป็นต้น สถานที่ตั้งพื้นที่ที่เสนอเพื่อขอตั้งหน่วยวิจัย คือ ห้อง CE 608, CE610 และ CE 617 ชั้น 6 ของอาคารวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยแบ่งการใช้พื้นที่ในแต่ละห้องดังนี้ห้อง CE 608 – เพื่อใช้ในการเป็นห้อง Nano-synthesis เพื่อสังเคราะห์วัสดุนาโน และ ห้อง Nano-bioengineering เพื่อใช้ทดลองเกี่ยวกับชีวภาพ พืช และจุลินทรีย์ ห้อง CE 610 - เพื่อใช้เป็นห้อง Nano-environment ทดลองเกี่ยวกับการกำจัดสารมลพิษทั้งใน ส่วนของมลพิษทางน้ำ ทางดิน และทางอากาศ และ ห้อง CE 617 - เพื่อใช้เป็นห้องพักบัณฑิตศึกษา และห้องประชุมนำเสนอผลงาน บุคลากรในหน่วยวิจัยบุคลากรหลักในการทำงานวิจัยของหน่วยวิจัยรศ.ดร. พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล .......วิศวกรรมโยธา ดร. ธนพล เพ็ญรัตน์ .......วิศวกรรมโยธา ดร. จิรภัทร์ อนันต์ภัทรชัย .......วิศวกรรมโยธา ความร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยในและต่างประเทศในปัจจุบัน หน่วยวิจัยได้มีการร่วมดำเนินการวิจัยกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศหลายแห่ง ดังนี้
ผลลัพธ์จากหน่วยวิจัยหน่วยวิจัยได้ตั้งเป้าหมายในแต่ละปีดังนี้
|
WebsiteComming Soon...DirectorEmail : pomphenrat@gmail.com
Telephone : 0-5596-4057
Personnel in the agency
Dr. Tanapon Phenrat (Civil Engineering) Associate Professor Dr. Puangrat Kajitvichyanukul (Civil Engineering) Dr. Jirapat Ananpattarachai (Civil Engineering) Staff ContactMailing AddressCenter for Environmental Toxic Substances Removal: CeTox, Faculty of Engineering, Naresuan University, Phitsanulok 65000, Thailand
|