ที่มาและความสำคัญ
สืบเนื่องมาจากปัจจุบันมีการแข่งขันอย่างสูงทางด้านเทคโนโลยีในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมในตลาดโลก ตลอดจนการเปิดเสรีทางการค้า ส่งผลให้ประเทศไทยต้องปรับตัวและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของตนเอง ที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าเทคโนโลยีและเครื่องจักรเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางอย่างมีราคาสูงและไม่เหมาะสม กับการใช้งานในประเทศ โดยที่เทคโนโลยีและเครื่องจักรหลายๆ ชนิดสามารถพัฒนาขึ้นได้ในประเทศไทย
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร7 มหาวิทยาลัยนเรศวร ตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนา นวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม จึงได้จัดตั้ง ศูนยนวัตกรรมทางวิศวกรรมเครื่องกล (Innovative Mechanical Engineering Center (i-MechE)) ขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ
แข่งขันและการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันจะส่งผลถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม และ ความอยู่ดีกินดีของคนในสังคม
วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นวัตกรรมทางด้านเครื่องจักรกลเกษตร กังหันก๊าซ และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
2. บทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงการเผยแพร่ผลงานวิจัยผ่านการประชุมวิชาการ
3. ให้คำปรึกษาและจัดฝBกอบรมทางด้านวิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมพลังงานและการออกแบบทางวิศวกรรมเครื่องกล
แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้สนใจทั่วไป
4. ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมพลังงานและการออกแบบทาง
วิศวกรรมเครื่องกล
โครงสร้างของศูนย์วิจัย
ศูนย์นวัตกรรมทางวิศวกรรมเครื่องกลเนินงานวิจัยและให้บริการวิชาการใน 4 ด้านหลักๆ ได้แก่
1. การออกแบบ ทดสอบ และจัดการเครื่องจักรกลเกษตร
2. เทคโนโลยีอาคารและการจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน
3. เทคโนโลยีกังหันก๊าซ
4. กระบวนการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ทางวิศวกรรม
โดยที่กิจกรรมของงานวิจัยทั้ง 4 ด้าน แสดงในแผนผังรูปที่ 1
บุคลากรในหน่วยวิจัย
1. ผศ.ดร.กุลยา กนกจารุวิจิตร หัวหน้าศูนย์วิจัย
2. รศ.ดร.มัทนี สงวนเสริมศรี รองหัวหน้าศูนย์วิจัย
3. ดร.รัตนา การุญบุญญานันท์
4. ดร.ศลิษา วีรพันธุ์
5. อ.ศิษฐ์ภัณฑ์ แคนลา
บุคลากรในหน่วยวิจัย
แผนการดำเนินงานวิจัยและบริการวิชาการในระยะเวลา 5 ปี
1. การออกแบบ ทดสอบและจัดการเครื่องจักรกลเกษตร |
ลำดับ |
โครงการ |
ระยะเวลาดำเนินการ |
หมายเหตุ |
1 |
โปรแกรมเพื่อการจัดการเครื่องจักรกลเกษตร |
3 ปี |
|
2 |
การปรับปรุงหัวฉีดของเครื่องพ่นสารเคมีแบบสะพายหลัง |
3 ปี |
|
3 |
ผลของความเสียหายของเมล็ดข้าวงอกต่อเปอร์เซ็นต์การงอก |
3 ปี |
|
4 |
การพัฒนาเครื่องโรยเมล็ดข้าว |
3 ปี |
|
2. เทคโนโลยีอาคารและการจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน |
ลำดับ |
โครงการ |
ระยะเวลาดำเนินการ |
หมายเหตุ |
1 |
ศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ผสมอะลูมิเนียมฟอยล์จากถุงขยะพลาสติก |
1 ปี |
|
2 |
คุณลักษณะทางสมรรถนะของแผ่นทำความเย็นต้นแบบใยมะพร้าว |
2 ปี |
|
3 |
แท่งเชื้อเพลิงเขียวจากเปลือกกล้วย |
2 ปี |
|
4 |
การตรวจวิเคราะห์การใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
1 ปี |
|
5 |
การบริหารจัดการการใช้พลังงานของห้องเรียน อาคารเรียนรวม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
1 ปี |
|
6 |
ออกแบบและสร้างชุดอุปกรณ์ลดการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนโดยอาศัยน้ำกลั่นตัวจากคอยล์เย็น |
5 ปี |
|
7 |
โครงการอนุรักษ์พลังงานสำหรับโรงงานขนาดเล็ก ( Energy Saving for Small Enterprise : ES for SE ) |
1 ปี |
|
8 |
ปัญหาความชื้นภายในโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
1 ปี |
|
3. เทคโนโลยีกังหันก๊าซ |
ลำดับ |
โครงการ |
ระยะเวลาดำเนินการ |
หมายเหตุ |
1 |
การศึกษาการถ่ายเทความร้อนของ Swirling Jet กระแทกลงบนพื้นผิวรอยบุ๋ม |
3 ปี |
|
2 |
การศึกษาการถ่ายเทความร้อนของการกระแทกของเจ็ทลงบน
Leading Edge ของใบพัดกังหันรูปทรงต่างๆ |
3 ปี |
|
3 |
เครื่องต้นแบบของเครื่องยนต์กังหันก๊าซขนาดจิ๋ว |
5 ปี |
|
4 |
การศึกษาการไหลผ่านระบบหลอดเลือดที่ซับซ้อน |
5 ปี |
|
5 |
การศึกษาการดูดซึมของยาไปยังระบบการไหลของเลือด |
5 ปี |
|
4. กระบวนการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ทางวิศวกรรม |
ลำดับ |
โครงการ |
ระยะเวลาดำเนินการ |
หมายเหตุ |
1 |
การศึกษาปัญหาในการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร ในจังหวัดพิษณุโลก |
3 ปี |
|
2 |
การศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับกระบวนการออกแบบของภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดพิษณุโลก |
3 ปี |
|
3 |
การศึกษากระบวนการออกแบบเครื่องเก็บเกี่ยวนวดข้าว |
3 ปี |
|
ความร่วมมือ
หน่วยงานที่มีความร่วมมือ
1. ศูนย์พัฒนาอาชีพการเกษตร จ.พิษณุโลก (จักรกลเกษตร)
2 ศูนย์พัฒนาอาชีพการเกษตร จ.พิษณุโลก (ศูนย์พืชเพาะเลี้ยง)
3 ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว จ.พิษณุโลก
4 ศูนย์วิจัยข้าว จ.พิษณุโลก
5 โรงงาน น.นิตย์ สวรรคโลก จ.สุโขทัย
6 ศูนย์เพาะเห็ด จ.พิษณุโลก
7 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
8 กรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม
9 คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
10 หจก. ศิริวานิช เอสแอนด์ดับเบิ้ลยู
11 วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร
หน่วยงานที่คาดว่าจะมีความร่วมมือ
1 บริษัท เกษตรพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด จ.พิษณุโลก
2 Hybrid and Electric Vehicle Network, Imperial College London
3 IHI Turbo (Thailand), Co., Ltd. (ผ่านทาง Imperial)
ทุนวิจัยที่ได้รับในปัจจุบัน
1 ทุนสนับสนุนงานวิจัยประจำปีงบประมาณ 2552 ของคณะวิศวกรรมศาสตร7 จำนวน 2 ทุน 175,000 บาท
2 ทุนสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ปี 2553 30,000 บาท
3 ทุนโครงการอนุรักษ์พลังงานสำหรับโรงงานขนาดเล็ก ( ES for SE ) กรมโรงงาน กระทรวง
อุตสาหกรรม ปีงบประมาณ 2554 1,000,000 บาท
4 ทุนงบประมาณแผ่นดิน (วช.) ปี 2550 700,000 บาท
5 ทุนงบประมาณแผ่นดินปี 2548 100,000 บาท
6 ทุนสนับสนุนงานวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร ปีงบประมาณ 2554 80,000 บาท
แหล่งทุนที่คาดว่าจะขอรับการสนับสนุน
1 มหาวิทยาลัยนเรศวร
2 สภาวิจัยแห่งชาติ
3 กระทรวงพลังงาน
4 German Academic Exchange Service (DAAD)
5 สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
6 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก (Key Performance Indices)
1. ผลงานเผยแพร่ในรูปบทความวิชาการ
1.1. การตีพิมพ์วารสารระดับชาติ 2 เรื่องต่อปี
1.2. การตีพิมพ์วารสารระดับนานาชาติ 1 เรื่องต่อปี
1.3. การนำเสนอบทความระดับชาติ 2 เรื่องต่อปี
1.4. การนำเสนอบทความระดับนานาชาติ 1 เรื่องต่อ 2 ปี
2. การจัดอบรมบริการวิชาการ ในรอบ 5 ปี 3 ครั้ง
3. มีการผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาจำนวน 2 คนในระยะเวลา 5 ปี