- Libraries
- myEnineering
- Webmail
- Blackboard
- OASIS
- Academic Calendar
- Registration
- Schedule of Classes
- OTiS
- Daily Trojan
- Maps
- Directories
Research Innovation at the Faculty of Engineering, Naresuan University |
Research Innovation at the Faculty of Engineering, Naresuan University |
Research Center for Industrial Design, Decision and Development – iD3•Product design and development
•Decision support systems
•Industrial operation development
ในอุตสาหกรรมการผลิตนั้นประกอบไปด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินงานในหลายกิจกรรม จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่าโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในประเทศไทยมีปัญหาหลายประการทั้งในเรื่องประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เทคโนโลยี การดำเนินงาน และพนักงาน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม (SMEs) และวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้ยังพบว่าอุตสาหกรรมการผลิตต้องการยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของตนเองในหลายๆ ด้าน ศักยภาพ 3 ด้านของอุตสาหกรรมการผลิตที่ได้รับการพิจารณาให้ความสำคัญในการดำเนินการวิจัยนี้ คือ ศักยภาพในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศักยภาพของการสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ และศักยภาพในการพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการดำเนินการยกระดับศักยภาพการแข่งขันทั้งสามได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลและความรู้ที่เกิดจากความเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่เกิดจากการบูรณาการในศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกันในการแก้ปัญหาในหลายด้านให้กับอุตสาหกรรมการผลิต ดังนั้นจึงได้ดำเนินการจัดตั้งหน่วยวิจัยนี้ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า “หน่วยวิจัยด้านการออกแบบ การตัดสินใจและการพัฒนาทางอุตสาหกรรม หรือ Industrial Design, Decision and Development (ID3)” โดยมีภารกิจในการศึกษาวิจัยความรู้เฉพาะด้านและการบูรณาการในศาสตร์ของการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ และการพัฒนาการดำเนินงานในอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับศักยภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมการผลิตไทยสู่มาตรฐานสากล ดังนั้นภารกิจหลักของหน่วยวิจัยนี้สามารถเขียนเป็นโครงสร้างได้ดังนี้ คือ
ภารกิจการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Design and Development) ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับแนวโน้มธุรกิจใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่มมาจากความคิดสร้างสรรค์ ที่เรียกว่า Creative Business ซึ่งการที่อุตสาหกรรมการผลิตจะสามารถพัฒนาตนเองบรรลุผลสำเร็จเป็นธุรกิจดังกล่าวได้นั้นจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตนเองจากเดิมที่เป็นอุตสาหกรรมรับจ้างผลิต (OEM) มาเป็นธุรกิจที่มีการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง (ODM) การที่ให้บรรลุผลสำเร็จได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยศาสตร์และวิทยาการในด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งศาสตร์ดังกล่าวเกิดจากความคิดในเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องใช้ต่าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับมนุษย์ กล่าวได้ว่าการออกแบบเกิดขึ้นรอบๆ ตัวเรา สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ล้วนแล้วแต่เกิดจากการออกแบบ การออกแบบนั้นมีความจำเป็นที่ต้องพิจารณาด้านสุนทรียศาสตร์ ประโยชน์ใช้สอย และหลักการทางเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งมุมมองทางสังคม ประกอบกัน ในโลกปัจจุบัน เทคโนโลยีในด้านต่างๆ รวมทั้งด้านการออกแบบและการผลิตมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก ส่งผลให้กระบวนการออกแบบมีการปรับเปลี่ยนไปอยู่ในโลกของดิจิตอลมากยิ่งขึ้น มีการนำเทคโนโลยี อาทิเช่น ทางด้าน Computer-Aided Design, Computer-Aided Manufacturing, Computer-Aided Engineering, Rapid Prototyping, Computer-Numerical Control, Virtual Reality และ Haptic Technology และ Finite Element Analysis มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการออกแบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานที่สูงขึ้น ลดเวลาในการทำงาน และเพื่อลดต้นทุนในขั้นตอนการออกแบบ
ภารกิจการสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems)การสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจถือเป็นเครื่องมือช่วยที่สำคัญสำหรับฝ่ายบริหารในอุตสาหกรรมการผลิตที่จะทำให้ลดความผิดพลาดและผลกระทบจากการตัดสินใจโดยมีการพิจารณาจากข้อมูลและปัจจัยต่างๆ ในรอบด้าน ยกตัวอย่างเช่น
จากที่ได้กล่าวมาเป็นตัวอย่างข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า การตัดสินใจเป็นกระบวนการที่สำคัญที่เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับส่วนบุคคลจนถึงระดับองค์กรใหญ่ๆ ในอดีตการประมวลผลการตัดสินใจต่างๆ ค่อนข้างซับซ้อนและทำได้ยาก แต่ในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ตัดสินใจสามารถใช้ข้อมูล องค์ความรู้ และวิธีการวิเคราะห์ต่างๆ ในการประมวลผลการตัดสินใจในปัญหาที่ซับซ้อนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในภารกิจนี้เป็นการดำเนินการวิจัยโดยการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการตัดสินใจในแบบต่างๆ ซึ่งในงานวิจัยตามภารกิจนี้จะรวมไปถึงการค้นคิดทฤษฎีและวิธีการใหม่ๆ ที่ใช้สำหรับการตัดสินใจในปัญหาแบบที่มีข้อมูลคลุมเครือและมีหลายหลักเกณฑ์ (Fuzzy Multi-Criteria Decision Making – Fuzzy MCDM) การวิเคราะห์และจำลองระบบเชิงพลวัตเพื่อช่วยในการเรียงลำดับทางเลือก และการจัดระบบฐานข้อมูล เป็นต้น
ภารกิจการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม (Industrial Operation Development)จากปัญหาในการดำเนินงานในอุตสาหกรรมการผลิตที่มีการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา ทั้งทางด้าน การบริหารงาน เทคโนโลยี การปฏิบัติงาน และพนักงาน ของอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม รวมถึงวิสาหกิจชุมชน ทำให้ลดความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจลงเมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมการผลิตที่มีศักยภาพการแข่งขันที่ดีกว่า ในการสำรวจอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางและย่อมที่ผ่านมายอมรับถึงความรุนแรงจากการแข่งขันทางธุรกิจ มากขึ้นภายใต้การค้าเสรีในยุคโลกาภิวัฒน์ มีอิทธิพลต่างๆ ที่เข้ามาที่ทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตจำเป็นต้องปรับตัวให้มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สูงขึ้นเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและเติบโตได้ เช่น อิทธิพลจากผู้ซื้อ อิทธิพลจากคู่แข่งขัน อิทธิพลจากผู้ส่งมอบวัตถุดิบ อิทธิพลจากสินค้าทดแทนอื่นๆ เป็นต้น การดำเนินการของธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องมีการกำหนดกลยุทธ์ที่ดี โดยมุ่งเน้นการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ทั้งในด้านผลิตภาพ (Productivity) คุณภาพ (Quality) ต้นทุน (Cost) และการส่งมอบให้ตรงเวลา (Delivery) นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงเรื่องขวัญและกำลังใจผู้ปฏิบัติงาน ความปลอดภัย จรรยาบรรณ สิ่งแวดล้อม พลังงาน และอื่นๆ ในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์กรให้สามารถบรรลุผลสำเร็จในระดับที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศในระดับสากลนั้นมีได้หลากหลายวิธีการ ทั้งในด้านการใช้เครื่องมือ เทคนิคและวิธีการทางวิศวกรรมอุตสาหการเข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงกระบวนการผลิต เช่น เครื่องมือควบคุมคุณภาพ 7 ประการ (7 QC tools) กิจกรรม 5ส การควบคุมคุณภาพทางสถิติ (Statistical Quality Control) กิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group Activity) เป็นต้น หรือการจัดทำระบบการจัดการสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการงานให้มีประสิทธิภาพตามที่ต้องการ เช่น การใช้ระบบการจัดการคุณภาพ ISO9000 การจัดการโลจิสติกส์ การบำรุงรักษาแบบทวีผล การจัดการความปลอดภัย หลักเกณฑ์กระบวนการผลิตที่ดี (GMP) เป็นต้น เมื่ออุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยได้มีการนำเอาเครื่องมือ เทคนิคและวิธีการ ระบบการจัดการสมัยใหม่ดังกล่าวมาใช้ในองค์กร ปรากฏว่าไม่ได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่ต้องการ ทั้งนี้เนนำ จำทื่องมาจากมีปัจจัยหลายๆ ปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการประยุกต์ใช้เครื่องมือ เทคนิคและวิธีการ ระบบการจัดการสมัยใหม่ดังกล่าวเพื่อช่วยพัฒนาการดำเนินงาน ดังนั้นในภารกิจนี้จึงเน้นในการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและการหาแนวทางประยุกต์ใช้เครื่องมือ เทคนิคและวิธีการ ระบบการจัดการสมัยใหม่ที่เหมาะสมมาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินการขององค์กร
วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัย 1) เพื่อดำเนินการวิจัยและผลิตงานวิจัยในส่วนของงานวิจัยตามภารกิจ 3 ด้าน ได้แก่ การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ และการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ในรูปแบบของบทความวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติและระดับชาติ รวมถึงการเผยแพร่ผลงานวิจัยผ่านการประชุมวิชาการ การจัดอบรมและสัมมนาต่างๆ
กิจกรรมการวิจัยงานวิจัยที่กำลังดำเนินการ
การบริการวิชาการ / การจัดสัมมนาหรือประชุมวิชาการ - โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเชิงสร้างสรรค์ อุปกรณ์/เครื่องมือของหน่วยวิจัย (Research facilities)
ที่อยู่สำหรับการติดต่อหน่วยวิจัย ตั้งอยู่ที่ห้อง IE 612 ชั้น 6 อาคารวิศวกรรมอุตสาหการ-เครื่องกล
ดร.ภาณุ บูรณจารุกร
ดร.สุธนิตย์ พทธพนม
กรอบ แผนงานและทิศทางการดำเนินงานวิจัยกรอบการจัดตั้งหน่วยงานวิจัย (Research Unit) ของหน่วย iD3 นี้ได้กำหนดขึ้นโดยมีเป้าหมายหลักในการพัฒนายกระดับศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ และอุตสาหกรรมการผลิต โดยมีภารกิจในการวิจัยใน 3 ภารกิจหลัก ตามกรอบนี้ แนวทางงานวิจัยในระยะ 5 ปี เป็นงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาเพื่อสามารถใช้งานในระดับอุตสาหกรรมได้ โดยวางแนวทางการวิจัยไว้ดังนี้ ความร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยภายนอกและแนวทางการดำเนินการวิจัยและสร้างเครือข่ายในปัจจุบัน หน่วยวิจัยได้มีการร่วมดำเนินการวิจัยกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ดังนี้
|
Websiteunder constructionDirectorEmail : somlakw@nu.ac.th
Telephone : 055-964223, 055-964009
Personnel in the agencyStaff Contact-Mailing Address
หน่วยวิจัย ตั้งอยู่ที่ห้อง IE 612 ชั้น 6 อาคารวิศวกรรมอุตสาหการ-เครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
|