- Libraries
- myEnineering
- Webmail
- Blackboard
- OASIS
- Academic Calendar
- Registration
- Schedule of Classes
- OTiS
- Daily Trojan
- Maps
- Directories
Research Innovation at the Faculty of Engineering, Naresuan University |
Research Innovation at the Faculty of Engineering, Naresuan University |
Centre for Operations Research and Industrial Application: CORIA•Operation research and management
•Operation research and management in the industrial application
ในโลกปัจจุบันนี้เรื่องการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านคุณภาพของสินค้าและบริการนับว่าเป็นเรื่องสำคัญ รวมทั้งสภาวะการแข่งขันทางอุตสาหกรรมที่เพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อการวางกลยุทธ์และการดำเนินการธุรกิจ การจัดการโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพจึงส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินการธุรกิจ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริการ โดยจะเริ่มตั้งแต่การจัดหาผู้ส่งมอบจัดส่งวัตถุดิบ และดำเนินไปจนกระทั่งสินค้าถึงมือลูกค้าในปริมาณที่ถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาและราคาที่เหมาะสม กิจกรรมในโซ่อุปทาน อาจจะเกี่ยวข้องกับการพยากรณ์ การจัดซื้อ การจัดลำดับการผลิต การจัดการสินค้าคงคลัง การกระจายสินค้า และการบริการลูกค้า กิจกรรมต่างๆนี้จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนและวิเคราะห์อย่างรอบคอบด้วยวิธีการวิจัยการดำเนินงาน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการจำลองขบวนการผลิต หรือการวิเคราะห์ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด การวิจัยการดำเนินงานเป็นการประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งต้องอาศัยหลักทฤษฎีหลายด้านเช่น การหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุดภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัด การวิเคราะห์เชิงสถิติ แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ การค้นหาคำตอบแบบเฟ้นสุ่ม การค้นหาคำตอบที่เลียนแบบความฉลาดที่พบเห็นในธรรมชาติ และวิธีการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งในสถานการณ์ที่มีความคงที่แน่นอน (Deterministic) และไม่แน่นอน (Stochastic) ทั้งนี้เทคโนโลยี วิทยาการ หรือศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมดังกล่าว ควรนำมาศึกษาเชิงลึก เพื่อพัฒนาต่อยอดให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงการนำเทคโนโลยีหรือวิทยาการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับประเภทหรือลักษณะการทำธุรกิจของผู้ประกอบการในประเทศ การจัดตั้งหน่วยวิจัยด้านการวิจัยการดำเนินงานและการจัดการธุรกิจหรืออุตสาหกรรม จึงเสมือนเป็นกลไกหนึ่งในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาต่อยอดให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ด้านการวิจัยการดำเนินงาน และสนับสนุนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือวิทยาการให้เหมาะสมผู้ประกอบการในประเทศ ขอบข่ายของงานวิจัยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการวิจัยดำเนินงานและการจัดการต่างๆ เช่นการหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุดภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัด การวิเคราะห์เชิงสถิติ แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ การค้นหาคำตอบแบบเฟ้นสุ่ม การค้นหาคำตอบที่เลียนแบบความฉลาดที่พบเห็นในธรรมชาติ เพื่อประยุกต์แก้ปัญหาการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในธุรกิจอุตสาหกรรม (Industrial business) ประเภทต่างๆ เช่น ปัญหาการดำเนินงานและการจัดการด้านการเกษตรและสินค้าทางการเกษตร ด้านการประมง ด้านการทหาร ด้านการศึกษา ด้านการแพทย์ ด้านการกีฬา ด้านการเงิน การจัดการโซ่อุปทาน การสื่อสาร การจัดตารางการผลิต และการขนส่ง เป็นต้น สถานที่ตั้งภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 บุคลากรในหน่วยวิจัย
กิจกรรมการวิจัยงานวิจัยที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
งานวิจัยที่กำลังดำเนินการ
ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่
Srisatja Vitayasak and Pupong Pongcharoen (2011). Interaction of Crossover and Mutation Operations for Designing Non-rotatable Machine Layout, Proceedings of National Conference of Operations Research 2011: 252-260.
Susa, T., Sangmanee, P. and Ritvirool, A. (2011). Work Improvement of installing rolling bearing in a blower: A case study of conveyor system plant, Journal of Research and Innovation for Thai Industries, 2(1), 45-50. (in Thai)
Kwanniti Khammuang, Panu Buranajarukorn, Nadnapha Boonnuam and Nujaree Thongyim (2010). A Mathematical Programming Model for the Multiple Row Layout Problem in Flexible Manufacturing Systems, Proceedings of National Conference of Operations Research 2010: 222-224.
Matphongtavorn, N. and Ritvirool, A. (2010). Coordinated Single-Vendor, Single-Buyer Inventory Policy with Lead Time and Quality Considerations. The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok, 20(1), 89-96. (in Thai)
Hicks, C. and Pongcharoen, P. (2009). Applying different control approaches for resources with high and low utilisation: a case study of the production of complex products with stochastic processing times, International Journal of Technology Management, vol. 48, no. 2, p.202-218. ISSN 0267-5730.
Ratanachote, P. and Disney, S. M. (2009). Distribution network dynamics with correlated demands. In: The 16th International Annual EurOMA Conference. Göteborg, Sweden, 14-17 June 2009.
Pongcharoen, P., Promtet, W., Yenradee, P. and Hicks, C. (2008). Stochastic optimisation timetabling tool for university course scheduling, International Journal of Production Economics, vol. 112, no. 2, p.903-918. ISSN 0925-5273.
Pongcharoen, P., Chainate, W. and Pongcharoen, S. (2008). Improving artificial immune system performance: inductive bias and alternative mutations, Lecture Notes in Computer Science, vol. 5132, p.220-231. ISSN 0302-9743.
Ratanachote, P. and Disney, S. M. (2008). On the square root law for bullwhip: The case of arbitrary lead-times and AR(1) demand. In: The 15th International Working Seminar on Production Economics, Innsbruck, 3-7 March 2008.
Limpianchob, C. and Ritvirool, A. (2008) A banana cultivating plan for sun-dried banana industry using integer linear programming, Proceeding of the 1stInternational conference in Business Management and Information Sciences, Phitsanulok, Thailand, November 5-7, 2008, pp. 381-387.
Pongcharoen, P., Chainate, W. and Thapatsuwan, P. (2007) Exploration of genetic parameters and operators through travelling salesman problem, ScienceAsia, vol. 33, no. 2, p215-222. ISSN 1513-1874.
Ritvirool, A. and Ferrell, W.G. (2007). The effect on inventory of cooperation in single-vendor, single-buyer systems with quality considerations , International Journal of Operational Research, 2(3), 338-356.
Hicks, C. and Pongcharoen, P. (2006).Dispatching rules for production scheduling in the capital goods industry, International Journal of Production Economics, vol. 104, no. 1, p154-163. ISSN 0925-5273.
Pongcharoen, P., Hicks, C. and Braiden, P.M. (2004). The development of genetic algorithms for the finite capacity scheduling of complex products, with multiple levels of products structure, European Journal of Operational Research, vol. 152, no. 1, p215-225. ISSN 0377-2217.
Pongcharoen, P., Hicks, C., Braiden, P.M. and Stewardson, D.J. (2002). Determining optimum genetic algorithm parameters for scheduling the manufacturing and assembly of complex products, International Journal of Production Economics, vol. 78, no. 3, p311-322. ISSN 0925-5273.
Ratanachote, P. and Xi-nan, Z. (2002). GIS: The great tool for future supply chain management. In: Regional Logistics and Supply Chain Management, Northeastern University, Shenyang, China, 13-14 August, 2002.
เอกชัย แผ่นทอง,อภิชัย ฤตวิรุฬห์ (2555).การวางแผนจัดซื้อวัตถุดิบ และจัดสรรทรัพยากรในอุตสาหกรรมแปรรูปขิงโดยประยุกต์ใช้กำหนดการเชิงเส้นจำนวนเต็มผสม.วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 22 (2).
รัฐพงศ์ แม่นยำ, ขวัญนิธิ คำเมือง และภาณุ บูรณจารุกร (2554). การจัดการเซลล์การผลิตในระบบการผลิตแบบเซลลูลาร์โดยใช้ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม. การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2554, 34-43.
ชัยมงคล ลิ้มเพียรชอบ, อภิชัย ฤตวิรุฬห์, 2553. การวางแผนการผลิตและแปรรูปผักกาดหัวโดยประยุกต์ใช้กำหนดการจำนวนเต็มผสม.วารสาร Thai VCML 3 (1), 55-63.
อุปกรณ์/เครื่องมือของหน่วยวิจัย
|
WebsiteComming soon...DirectorEmail : pupongp@yahoo.com
Telephone : 0-5596-4100
Personnel in the agency
ผศ.ดร. ภูพงษ์ พงษ์เจริญ (หัวหน้าหน่วยวิจัย) ผศ.ดร. อภิชัย ฤตวิรุฬห์ (นักวิจัย) ดร. ขวัญนิธิ คำเมือง (นักวิจัย) ดร. โพธิ์งาม สมกุล (นักวิจัย) อ. ศรีสัจจา วิทยศักดิ์ (นักวิจัย) Staff Contact
-
Mailing Address
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
โทรศัพท์: 0-5596-4256, 0-5596-4255 โทรสาร: 0-5596-4003 |