•Advanced Techniques in Software Development, i.e. Software Production Line, Software Architecture, Service Oriented Architecture, Software Process Improvement.
หลักการและเหตุผล
คอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากการที่หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ล้วนแต่มีคอมพิวเตอร์ไว้ช่วยในการทำงาน เนื่องจากคอมพิวเตอร์ช่วยให้เราสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งหัวใจของการทำงานของคอมพิวเตอร์ก็คือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่สั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นอกจากนี้อุปกรณ์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น โทรศัพท์ก็มีซอฟต์แวร์หน้าที่ในการสั่งการ แม้แต่รถยนต์สมัยใหม่ก็มีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ ระบบถุงลมนิรภัย ระบบแบรคและอื่นๆ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มีการใช้ซอฟต์แวร์ในทุกที่ทุกเวลา
ถึงวิวัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์จะรุดหน้าไปมากแต่การพัฒนาซอฟต์แวร์ในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปใกนักจากอดีต จากรายงาน Chaos ของสาถนบันวิจัย Standish ประเทศสหรัฐอเมริการซึ่งแสดงผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารทั่วโลกต่อความสำเร็จของโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ทุก 2 ปีโดยตั้งแต่ปี ค.ศ.1995 จนถึง ค.ศ. 2009 ดังตาราง
|
1994 |
1996 |
1998 |
2000 |
2002 |
2004 |
2006 |
2008 |
ประสบความสำเร็จ |
16% |
27% |
26% |
28% |
34% |
29% |
35% |
32% |
ยกเลิก |
31% |
40% |
28% |
23% |
15% |
18% |
19% |
24% |
มีปัญหาแต่ไม่ยกเลิก |
53% |
33% |
46% |
49% |
51% |
53% |
46% |
44% |
จากปีค.ศ. 1994 จนถึงปีค.ศ.2008 โอกาสความสำเร็จของโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แต่ทว่ามีโครงการเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ถือได้ว่าประสบความสำเร็จ
จากการประชุมร่วมระหว่างสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติกับองค์กรเอกชนและสถาบันการศึกษา พบว่าตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2551-2553 มีมูลค่ามากกว่า 6 หมื่นล้านบาทโดยมีอัตราการเจริญเติบโตของตลาดกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ด้วยเหตุนี้การวิจัยด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์และวิศวกรรมระบบจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะงานวิจัยที่ดีจะช่วยให้เราสามารถลดต้นทุนการพัฒนาซอฟต์แวร์และระบบ
นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยจะลงทุนในการพัฒนาความรู้ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์และวิศวกรรมระบบให้ทัดเทียมหรือดีกว่านานาชาติ เพราะยังมีช่องทางอีกมากที่จะพัฒนาศาสตร์สาขานี้ให้ก้าวหน้า อันจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางปัญญาให้แก่ประเทศโดยรวม
วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
- เพื่อเป็นแหล่งพัฒนาความรู้ขั้นสูงด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์และวิศวกรรมระบบ
เพื่อเป็นแหล่งผลิตผลงานและนวัตกรรมด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์และวิศวกรรมระบบ
เพื่อเป็นแหล่งผลิตงานวิจัยและเพื่อตีพิมพ์สารสารทางวิชาการวิศวกรรมซอฟต์แวร์และวิศวกรรมระบบหรือด้านที่ใกล้เคียงทั้งในระดับชาติและระดับสากล
เพื่อเป็นแหล่งกระตุ้นให้ผู้ที่สนใจงานด้านนี้มาแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์และวิศวกรรมระบบหรือด้านที่ใกล้เคียง
เพื่อสร้างการบริการวิชาการให้แก่บุคคลทั่วไปได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และให้รับทราบถึงความรู้และเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และวิศวกรรมระบบที่พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง
เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้จากงานวิจัยด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์และวิศวกรรมระบบสู่การนำไปใช้เชิงพาณิชย์
กรอบ แผนงานและทิศทางการดำเนินงานวิจัย
แผนการดำเนินงาน |
ระยะเวลา |
1. จัดตั้งหน่วยวิจัย |
ภายใน 1 เดือนหลังได้รับการอนุมัติ |
2. จัดซื้อครุภัณฑ์ |
เริ่มได้ภายใน 1 เดือนหลังได้รับอนุมัติและเสร็จสิ้นภายใน 6 เดือนหลังได้รับอนุมัติ |
3. จัดทำ web site |
ภายใน 1 เดือนหลังได้รับการอนุมัติ |
4. ดำเนินงานวิจัย |
ภายใน 1 เดือนหลังได้รับการอนุมัติ |
5. เผยแพร่ผลงาน |
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป |
ทิศทางการดำเนินงานวิจัย
การวิจัยจะเน้นที่
การพัฒนาความรู้ขั้นสูงที่จะช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จของการพัฒนาซอฟต์แวร์และการพัฒนาระบบ
การร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานที่มีการพัฒนาซอฟต์แวร์
การพัฒนาเทคนิคการพัฒนาซอฟต์แวร์ขั้นสูง อาทิเช่น
- สายการผลิตซอฟต์แวร์ (Software Product Line)
- สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ (Software Architecture)
- สถาปัตยกรรมเชิงบริการ (Service Oriented Architecture)
- การปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการทางซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement)
- การประยุกต์ใช้ Formal Method ในการพัฒนาซอฟต์แวร์และระบบ
ความร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยภายนอก และแนวทางการดำเนินการวิจัยและการสร้างเครือข่าย
ปัจจุบันหน่วยวิจัยมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่อไปนี้
1. NECTEC
2. Asian Institute of Technology
นอกจากนี้หน่วยวิจัยจะพยายามสร้างความร่วมมือด้านวิชาการและงานวิจัยกับมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานอื่นในต่างประเทศอย่างน้อย 3 หน่วยงาน โดนมุ่งเน้นที่สถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น Center for Systems and Software Engineering มหาวิทยาลัย Southern California ประเทศสหรัฐอเมริกา Software Engineering Institute มหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ประเทศสหรัฐอเมริการ มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
บุคลากรในหน่วยวิจัย
ลำดับที่ |
ชื่อ – สกุล |
ตำแหน่งวิชาการ |
วุฒิสูงสุด |
สาขา |
1 |
สุรเดช จิตประไพกุลศาล |
- |
ปริญญาเอก |
Electrical Engineering and Computer Science |
2 |
พงศ์พันธ์ กิจสนาโยธิน |
- |
ปริญญาเอก |
Computer Science |
3 |
วรลักษณ์ คงเด่นฟ้า |
- |
ปริญญาเอก |
Computer Science and Engineering |
4 |
ภาณุพงศ์ สอนคม |
- |
ปริญญาโท |
Computer Engineering |
5 |
สิรภพ คชรัตน์ |
- |
ปริญญาโท |
Computational Science |
6 |
จิราพร พุกสุข |
- |
ปริญญาโท |
Computer Engineering |