ปัจจุบันมลภาวะอากาศเกิดขึ้นในหลายพื้นที่เนื่องจาก แหล่งกำเนิดทางธรรมชาติ และแหล่งกำเนิดที่มนุษย์สร้างขึ้นมา สถานการณ์ปัญหาหมอกควัน ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี ในเขตภาคเหนือตอนบน จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และ ลำปาง พบว่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (PM10) และปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (PM 2.5) เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ เป็นระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ฝุ่นละอองขนาดเล็กมีสารมลพิษกลุ่มโพลิไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons) และโลหะหนักซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง จึงควรศึกษาความเสี่ยงต่อสุขภาพ การรับสัมผัสฝุ่นขนาดเล็กของประชาชนในพื้นที่ ศึกษาการลดความเสี่ยงการรับสัมผัสฝุ่น ศึกษาสถิติของผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกที่รับการรักษาทางเดินหายใจในช่วงการเกิดปัญหาหมอกควัน
จากการเฝ้าระวังระดับฝุ่นละอองขนาดเล็กในเขตเมืองพิษณุโลกโดยเฉพาะในฤดูหนาว พบ ฝุ่น PM10 เกินมาตรฐานในบรรยากาศ จึงควรที่จะมีการศึกษาผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็กกับสุขภาพ การลดการรับการสัมผัส และการลดมลภาวะจากแหล่งกำเนิดฝุ่น
หน่วยวิจัยนี้ จึงจัดตั้งขึ้นเพื่อการดำเนินการวิจัยสิ่งแวดล้อมด้านมลภาวะอากาศ แบ่งลักษณะงานวิจัยเป็น 3 ประเด็น หลัก ดังนี้
- 1. งานวิจัยด้านผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็กต่อสุขภาพ และแนวทางการลดฝุ่น ในเขตภาคเหนือตอนบน ช่วงสถานการณ์ปัญหาหมอกควัน
- 2. งานวิจัยด้านผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็กต่อสุขภาพและแนวทางการลดฝุ่นในบรรยากาศเมืองพิษณุโลก
- 3. มุ่งงานวิจัยศึกษาแหล่งกำเนิดของฝุ่นขนาดเล็ก และการลดมลภาวะอากาศจากแหล่งกำเนิด
วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
- เพื่อดำเนินการวิจัยและผลิตงานวิจัยในส่วนของวิจัยสิ่งแวดล้อม ด้านมลภาวะอากาศ ในรูปแบบของบทความวิจัยตีพิมพ์ระดับชาติ และระดับนานาชาติ นำเสนอบทความระดับชาติและนานาชาติ ทำการจัดอบรมวิชาการด้านมลภาวะอากาศ
- เพื่อสร้างนิสิตระดับบัณฑิต และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาให้และความมีความรู้ ความสามารถ และความพร้อมในด้านงานวิจัย ตลอดจนนำความรู้ ทฤษฎีต่าง ๆ ไปใช้ในการแก้ปัญหาด้านมลภาวะอากาศ
- เพื่อสร้างเครือข่ายงานวิจัยด้านมลภาวะอากาศกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
ทิศทางการพัฒนางานวิจัย
แนวทางงานวิจัยในระยะ 5 ปี เป็นงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาเพื่อสามารถใช้แก้ปัญหามลภาวะอากาศในระดับชุมชนเมืองพิษณุโลก และแก้ปัญหาสถานการณ์หมอกควันในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน จังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และ ลำปาง
- งานวิจัยด้านผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็กต่อสุขภาพ และแนวทางการลดฝุ่น ในเขตภาคเหนือตอนบน ช่วงสถานการณ์ปัญหาหมอกควัน
- งานวิจัยด้านผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็กต่อสุขภาพ และแนวทางการลดฝุ่น ในบรรยากาศเมืองพิษณุโลก
- มุ่งงานวิจัยศึกษาแหล่งกำเนิดของฝุ่นขนาดเล็ก และการลดมลภาวะอากาศจากแหล่งกำเนิด
- มุ่งวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ศึกษาบริบทของพื้นที่ องค์ประกอบ คุณลักษณะ และศักยภาพของชุมชนในการจัดการกับมลภาวะทางอากาศในพื้นที่
สถานที่ตั้ง
พื้นที่ขอตั้งหน่วยวิจัย คือ ห้อง CE 216 เพื่อใช้เป็นห้องบัณฑิตศึกษา และการประชุมงานย่อย
ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ ในการวิเคราะห์ตัวอย่างด้านอากาศ และเก็บอุปกรณ์และ
เครื่องมือด้านการวิจัยมลภาวะอากาศ
บุคลากรในหน่วยวิจัย
บุคลากรหลักในการทำงานวิจัยของหน่วยวิจัย
- ผศ. ดร. ปาจรีย์ ทองสนิท วิศวกรรมโยธา
- อาจารย์ชัยวัฒน์ โพธิ์ทอง วิศวกรรมโยธา
- อาจารย์กานต์ ลี่วัฒนายิ่งยง วิศวกรรมอุตสาหการ
- นางวิชญา อิ่มกระจ่าง วิศวกรรมโยธา
ความร่วมมือกับบุคคลและหน่วยงานวิจัยในและต่างประเทศ
-
1. Associate. Prof. Dr. Martin Hooper, Monash University, Victoria, Australia
2. รศ. ดร. วนิดา จีนศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ผศ. ดร. เพชร เพ็งชัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
4. ผศ. ดร. ธนียา เจติยานุกรกุล และ นายเอกลักษณ์ รุ่งวิสัย (นิสิตปริญญาเอก) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. ดร. ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ นักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนากำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
6. นางสาวสิริพร ณ เชียงใหม่ หัวหน้างานด้านสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจ๊อม อ. สันทราย จ. เชียงใหม่
7. นายไพศาล วัชรถาวรศักดิ์ หัวหน้าแผนกสิ่งแวดล้อมโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อ. แม่เมาะ จ. ลำปาง
8. นายชูชัย หล่อนิมิตดี นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครพิษณุโลก จ. พิษณุโลก
9. นายถาวร เพชรบัว นักวิชาการ สำนักงานสิ่งแวดล้อมที่ 3 จ. พิษณุโลก
ทุนวิจัย
หน่วยวิจัยได้ดำเนินการส่งข้อเสนอเพื่อรับทุนสนับสนุนการวิจัย โดยสถานะของทุนวิจัยแสดงในตาราง
ชื่อโครงการ |
แหล่งทุน |
เวลา |
งบประมาณ |
สถานะ |
1. การเผาอ้อยในที่โล่ง |
วช. |
1 ปี |
200,000 |
ทำรายงานฉบับสมบูรณ์ |
2554 |
2. โครงการคุณภาพอากาศและจุลินทรีย์ในสำนักงานและห้องเรียนในมหาวิทยาลัยนเรศวร |
กองทุนวิจัยมน. |
1 ปี |
80,000 |
ปิดโครงการ |
2554 |
3. สารประกอบโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) ในฝุ่น PM10 ในช่วงการเกิดหมอกควันของจังหวัดเชียงใหม่ |
วช. |
1 ปี |
270,000 |
ระหว่างดำเนินการวิจัย |
2555 |
4. การประยุกต์ใช้พืชดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในสำนักงาน |
กองทุนวิจัย |
1 ปี |
80,000 |
ระหว่างดำเนินการวิจัย |
มน. |
2555 |
5. การลดมลพิษอากาศ จากปัญหาหมอกควัน ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ |
วช. |
1 ปี |
500,000 |
อนุมัติเบื้องต้น |
2556 |
รอการทำสัญญา |
4. การลดการปล่อยสารประกอบโพลีไซคลิก อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) จากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ. ลำปาง |
กฟผ. |
อยู่ระหว่างการเตรียมข้อเสนอ |
5. การลดฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ เมืองพิษณุโลก |
เทศบาลนครพิษณุโลก |
อยู่ระหว่างการเตรียมข้อเสนอ |
ครุภัณฑ์และอุปกรณ์สิ่งแวดล้อมด้านอากาศที่มีอยู่แล้ว
ลำดับที่ |
ครุภัณฑ์ / อุปกรณ์ |
จำนวน |
1. |
ชุดเก็บตัวอย่างฝุ่นรวม
พร้อมอุปกรณ์ปรับเทียบเครื่องมือ |
1 ชุด |
2. |
เครื่องเก็บตัวอย่างฝุ่นจากบุคคล |
2 เครื่อง |
3. |
เครื่องชั่งน้ำหนัก 4 ตำแหน่ง |
2 เครื่อง |
4. |
ตู้ดูดความชื้น |
1 ตู้ |
5. |
เครื่องวัดก๊าซ วิเคราะห์ CO2 และ NO2 |
1 เครื่อง |
6. |
เครื่องระเหย |
2 เครื่อง |
7. |
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และ เครื่องพิมพ์ |
1 ชุด |
8. |
คอมพิวเตอร์ notebook |
1 เครื่อง |
9. |
อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างฝุ่นตก |
30 ชุด |
10. |
กระดาษกรองขนาด 37 mm. |
2 กล่อง |
11. |
กระดาษกรองขนาด 8 x 10 นิ้ว |
1 กล่อง |
ครุภัณฑ์ที่ขอความอนุเคราะห์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์
ลำดับที่ |
ครุภัณฑ์ |
จำนวน |
ราคาต่อหน่วย
(บาท) |
ราคารวม
(บาท) |
1. |
ชุดเก็บตัวอย่างฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน
พร้อมอุปกรณ์ ปรับเทียบเครื่องมือ |
1 |
560,000 |
560,000 |
2. |
ชุดเก็บตัวอย่างฝุ่นขนาดเล็กว่า 10 ไมครอน
พร้อมอุปกรณ์ปรับเทียบเครื่องมือ |
1 |
262,000 |
262,000 |
3. |
เครื่องเก็บตัวอย่างฝุ่นจากบุคคล |
1 |
48,000 |
48,000 |
4. |
เครื่องชั่ง 5 ตำแหน่ง |
1 |
130,000 |
130,000 |
|
รวม |
(หนึ่งล้านบาทถ้วน) |
1,000,000 |
แผนรายการครุภัณฑ์และอุปกรณ์ที่จัดหาเพิ่มเติมโดยหน่วยวิจัย
ลำดับที่ |
ครุภัณฑ์ / อุปกรณ์ |
จำนวน |
ราคารวม
(บาท) |
1. |
ตู้ดูดความชื้น |
2 ตู้ |
70,000 |
2. |
เครื่องแก้วในการทดลอง |
1 ชุด |
30,000 |
3. |
อุปกรณ์และสารเคมีในการวิเคราะห์ PAHs |
1 ชุด |
70,000 |
4. |
อุปกรณ์และสารเคมีในการวิเคราะห์ โลหะหนัก |
1 ชุด |
40,000 |
5. |
กระดาษกรองและอุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างฝุ่น |
1 ชุด |
60,000 |
6. |
คอมพิวเตอร์ Note Book และเครื่องพิมพ์ |
1 เครื่อง |
30,000 |
|
รวม (สามแสนบาทถ้วน) |
|
300,000 |
ผลลัพธ์จากหน่วยวิจัย
กิจกรรม และผลลัพธ์
ดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการ
ผลิตนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา
เผยแพร่ผลงานวิชาการ
ปี 2554-55
1. นำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ 3 เรื่อง
2. นำเสนอในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 2 เรื่อง
3. ตีพิมพ์ลงวารสารระดับชาติ 2 เรื่อง
4. เตรียมบทความตีพิมพ์ระดับชาติ 2 เรื่อง
5. เตรียมบทความตีพิมพ์ระดับนานาชาติ 2 เรื่อง