ประมวลภาพกิจกรรม > พิธีลงนาม MOU ระหว่าง ADPC. กับ รัฐบาลมองโกเลีย




    ม.นเรศวร เยือนแดนเจงกิสข่าน สร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทย - มองโกเลีย
พร้อมแลกเปลี่ยนงานวิชาการ วิจัย บุคลากร นักศึกษา ด้านวิศวกรรมศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์
คณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยนเรศวร  ออกเดินทางเยือนประเทศมองโกเลีย เมื่อวันที่ 7-9 ตุลาคม 2556 นำทีมโดย ศ.เกียรติคุณ นพ.ดร.กระแส ชนะวงศ์ นายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร  ในฐานะประธานศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันสาธารณภัยแห่งเอเชีย  Asian Disaster Preparedness Center – ADPC   พร้อม รศ.ดร.ศรินทิพย์   แทนธานี   คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ รศ.ดร.สำราญ มีแจ้ง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ และคณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยนเรศวร รวม 7 คน
ศ.เกียรติคุณ นพ.ดร.กระแส ชนะวงศ์  กล่าวถึงวัตถุประสงค์สำคัญว่าเพื่อเป็นการบอกกล่าวเล่าแจ้งแก่ผู้นำหรือผู้แทนของประเทศ และมหาวิทยาลัยของมองโกเลีย  ว่ามหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าของประเทศ ในกลุ่ม 10 อันดับแรกของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาล  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องวิชาการ  เนื่องจากปัจจุบันภารกิจด้านวิชาการมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก  แต่ละประเทศย่อมปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวัฒนธรรมของประเทศตน   สำหรับประเทศมองโกเลียมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูป การปฏิวัติและการพัฒนา ตลอดกว่า 100 ปีที่ผ่านมา  กล่าวถึงสมัยจักรพรรดิ์เจงกิสข่าน ถือเป็นวีรบุรุษของมองโกเลีย ศตวรรษที่ 12-13   โดยปัจจุบันชาวมองโกเลียมีความภาคภูมิใจ    ในการเชิดชูเกียรติ   โดยการนำวัฒนธรรม   ภาวะผู้นำ   วิถีชีวิตแบบจักรพรรดิ์เจงกิสข่าน  มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  
ศ.ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ให้การสนับสนุนคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ร่วมเดินทางมาเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการ โอกาสที่ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยแลกเปลี่ยนอาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา ซึ่งเป็นนโยบายที่ดีของมหาวิทยาลัยนเรศวร
นอกจากนี้  ยังมีโอกาสเยี่ยมเยือนอย่างเป็นทางการ นอกเหนือจากการมาสังเกตการณ์ในพิธีลงนามความร่วมมือกัน ระหว่าง ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันสาธารณภัยแห่งเอเซีย กับรัฐบาลมองโกเลีย ทำให้นักวิชาการและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีความสนใจเรื่องการจัดตั้งสถาบันหรือศูนย์วิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการภัยพิบัติในประเทศไทย โดยทำการศึกษาที่มาที่ไป วิธีการป้องกัน แก้ไขและลดความรุนแรงด้านภัยพิบัติให้น้อยลง

    มหาวิทยาลัยของประเทศมองโกเลีย   ที่คณะฯ ได้เข้าเยี่ยมชม ทั้ง 2 แห่ง  คือ The National University of Mongolia  และ Law Enforcement University of Mongolia  มีความสนใจและพอใจที่ได้เห็นความแตกต่าง ซึ่งมีลักษณะพิเศษ เช่น คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตว่า พนักงานดับเพลิง / พนักงานรักษาความปลอดภัย มีการพัฒนาเป็นนักศึกษา จนได้รับวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี  ถึงจะปฏิบัติงานได้   ไม่ใช่เลือกหมด อาจมีความตั้งใจดี  แต่วิธีการแก้ไขปัญหาของประชาชน  อาจจะไม่ลึกซึ้งพอ แต่หากเรียนจนได้เป็นบัณฑิตการป้องกันสาธารณภัย ซึ่งเดิมที   เป็นโรงเรียนหรือวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอัคคีภัย  ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาวิชาการ   จนกระทั่ง    มีรูปแบบเป็นมหาวิทยาลัย 
    นอกจากนี้  ยังมีการเรียนรู้เรื่องการช่วยเหลือผู้คนที่ประสบเหตุภัยพิบัติ  ซึ่งเป็นเหยื่อของสถานการณ์ต่างๆ  รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาเชิงกฎหมาย ด้วยกฎหมาย  (มีการเรียนกฎหมาย / จิตวิทยา)   ดังนั้น  หน้าที่จึงเปรียบเหมือนกับตำรวจ  /ทหาร โดยการรบกับภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็นฝนแล้ง น้ำท่วม หรือแผ่นดินไหว
 
    มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ทำบันทึกข้อตกลงเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันกับ Law Enforcement University of Mongolia  ในการเตรียมการจัดตั้งศูนย์ริเริ่มที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เตรียมหลักสูตรสำหรับระดับปริญญาโท เรื่องการบริหารจัดการภัยพิบัติต่างๆ   ดังนั้น จากการเยี่ยมชมจึงเห็นชัดขึ้นว่า   หากทั้ง   2 แห่ง ได้ร่วมมือกันอย่างจริงจัง   จะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้มากและมากขึ้น   ซึ่งมหาวิทยาลัยนเรศวร     มีพื้นฐานด้านวิชาการ  และเทคโนโลยี ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย     ส่วนประเทศมองโกเลีย   มีการเจาะลึกลงไป     ในเรื่องเกี่ยวกับการป้องกันภัยพิบัติ 
    สำหรับ The National University of Mongolia ถือเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติของมองโกเลีย เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่   เทียบได้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของไทย  ซึ่งการพัฒนาเน้นด้านวิทยาศาสตร์  (สาขาวิชาฟิสิกส์ เคมี และคณิตศาสตร์)  การบริหารจัดการ  สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ แต่ยังไม่มีคณะแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และเภสัชศาสตร์  หากมีการร่วมมือกันกับมหาวิทยาลัยนเรศวร จะเกิดประโยชน์ต่อประเทศมองโกเลียเป็นอย่างมาก     ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยนเรศวร ยังได้มีโอกาสเข้าศึกษาด้านประวัติศาสตร์ของประเทศมองโกเลีย  ตั้งแต่สมัยจักรพรรดิ์เจงกิสข่าน  ซึ่งมีความน่าสนใจและน่าศึกษาเรียนรู้เป็นอย่างมาก

    คณะฯ ได้รับเกียรติจาก Dendev TERBISHDAGVA Deputy Prime Minister of Mongolia  รองนายกรัฐมนตรี ประเทศมองโกเลีย ให้ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมพบคารวะอย่างเป็นทางการ  โดยรองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความชื่นชม ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี  ของประเทศไทย  ที่ให้ความสำคัญกับประเทศมองโกเลีย  ที่ได้นำคณะฯ ไปเยี่ยมชม ทั้งที่อยู่ห่างไกล  มีประชากรกว่า 3 ล้านคน มีพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศไทย 3 เท่า   ทำให้มีการริเริ่มร่วมกันระหว่างรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ คือ  ด้านการศึกษา โดยให้มีการพัฒนา แลกเปลี่ยน  เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่อทั้ง 2 ประเทศ
 
    ศ.เกียรติคุณ นพ.ดร.กระแส   ชนะวงศ์     ได้กล่าวเพิ่มอีกว่า    ในอนาคตอธิการบดี    คณบดี  และนักวิชาการ     จากมหาวิทยาลัยนเรศวร  จะมีกำหนดการเดินทางเพื่อไปเยือนประเทศมองโกเลียอีกครั้ง  เพื่อทำพิธีบันทึกข้อตกลงลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร   กับ   มหาวิทยาลัยแห่งชาติของประเทศมองโกเลีย    โดยเฉพาะด้านการศึกษา  การวิจัย   เพื่อเร่งรัดพัฒนาความเป็นเลิศด้านวิชาการต่างๆ  ต่อไปในอนาคต

---- ขอบคุณข่าว จาก เลขานุการ นายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ------



Untitled Document
ติดต่อ

สำนักงานเลขานุการคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์
อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
Tel: 0-5596-3961 (หน่วยประชาสัมพันธ์)
0-5596-4018 (หน่วยกิจการนิสิต)
0-5596-4009 (หน่วยวิชาการ)
โทรสาร : 0-5596-4000
Email
engineering@nu.ac.th
การเดินทาง

Map
ดูแผนที่เพื่อวางแผนการเดินทาง

คลิกที่นี่

Copyright © Faculty of Engineering Naresuan University. All rights reserved.