เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2556 ผู้นำชุมชนและกลุ่มชาวบ้านจาก ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา นำโดย นายจร เนาวโอภาส ประธานสภา อบต.หนองแหน ได้เข้ารับฟังการบรรยายสรุปเทคโนโลยีการจัดการความเสี่ยง กรณีการปนเปื้อนสารอันตรายจากการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมี รศ.ดร.ศรินทิพย์ แทนธานี คณบดีคณะวิสวกรรมศาสตร์ ดร.วิสาข์ สุวรรณไพบูลย์ ผู้อำนวยการสถานความเป็นเลิศเพื่อความยั่งยืนด้านสุขภาวะ สิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม พร้อมด้วย ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ หัวหน้าหน่วยวิจัยเชิงบูรณาการด้านการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนและการนำ ทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้ใหม่ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นวิทยากรในการบรรยาย และเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ เพื่อเรียนรู้กระบวนการบำบัดน้ำเสียและน้ำดื่มปนเปื้อนสารอันตรายโดยวิธี อ็อกซิเดชั่นและรีดักชั่นทางเคมี นอกจากนี้ยังมีการสาธิตเพิ่มเติมในเรื่องวิธีการสลายโดยแสงและการดูดซับ โดย ดร.วิลาวัลย์ คณิตชัยเดชา และ ดร.อุปถัมภ์ นาครักษ์ จากหน่วยวิจัยวัสดุขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
การดำเนินการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการปนเปื้อนสารอันตรายในพื้นที่ชุมชนหนองแหน นั้น ได้มีการดำเนินการในรูปแบบของเครือข่ายวิชาการ ประกอบด้วยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กรมส่งเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเด็นปัญหาใหญ่ที่พบคือการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ซึ่งได้มีการศึกษาในเบื้องต้นพบสารพิษหลากหลายชนิดโดยพบว่า ฟีนอล เป็นสารหลักที่เกิดการปนเปื้อนในพื้นที่และกระจายลงสู่แหล่งน้ำใต้ดิน ซึ่งชุมชนใช้แหล่งน้ำใต้ดินในการอุปโภคบริโภคด้วยทำให้เกิดปัญหาเชื่อมโยง ถึงสุขภาพ เช่น การเจ็บป่วยจากการหายใจเอาสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดเป็นปัญหาสุขภาพในระยะยาวได้
ผลจากการเข้าเยี่ยมชมในครั้งนี้ถือเป็นการแลกเปลี่ยนและเพิ่มพูนความรู้ให้ กับกลุ่มชุมชน และให้ชุมชนได้รับรู้ถึงกระบวนการดำเนินการจัดการแก้ปัญหาของคณะทำงานและแนว ทางการฟื้นฟูในระยะยาว อีกทั้งยังได้เรียนรู้ในเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งมีความเป็นไปได้ในการที่จะช่วยฟื้นฟูในพื้นที่ปนเปื้อนที่มีการทิ้งกาก ของเสีย หาแนวทางให้ชุมชนสามารถใช้น้ำบาดาลได้อย่างปลอดภัย คำนวณทิศทางการไหลของน้ำบาดาลที่ปนเปื้อนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของสาร พิษ ซึ่งการเลือกแนวทางในการช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่นั้นจะ ต้องมีการประเมินเพื่อให้เหมาะสมกับปัญหาในพื้นที่ ความเหมาะสมทางด้านเทคนิค ค่าใช้จ่าย และผลกระทบต่อไปในอนาคต
Copyright © Faculty of Engineering Naresuan University. All rights reserved.