วันที่13 มกราคม 2565 เวลา 13.30 น. มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดงานแถลงข่าวสื่อมวลชนประจำเดือนมกราคม 2565 ณ ห้องเสลา 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี โดยมีประเด็นการแถลงข่าว 2 เรื่อง ได้แก่ 1.รพ.มน.สร้างหอผู้ป่วยวิกฤตระบบทางเดินหายใจ (Respiratory care unit : RCU) แห่งแรกในภาคเหนือตอนล่างจากงานวิจัย ประเด็นที่ 2.ครบรอบ 28 ปี แห่งการก่อตั้ง คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร จัดโครงการบริการวิชาการคณะแพทยศาสตร์ ประจำปี 2565 เรื่อง Situation updates on COVID-19
ในการนี้ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์บดินทร์ บุตรธรรม รองคณบดีฝ่ายบริหารและพัฒนานวัตกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นินนาท ราชประดิษฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และอ.ดร.ภก ประยุทธ ภูวรัตนาวิวิธ คณะเภสัชศาสตร์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวในประเด็นรพ.มน.สร้างหอผู้ป่วยวิกฤตระบบทางเดินหายใจ (Respiratory care unit : RCU) แห่งแรกในภาคเหนือตอนล่างจากงานวิจัย
2 ปีจากการวิจัย เรียนรู้จากวิกฤติโควิด-19 สู่นวัตกรรม “หอผู้ป่วยวิกฤตระบบทางเดินหายใจ (Respiratory care unit : RCU)” แห่งแรกในภาคเหนือตอนล่าง สำหรับดูแลผู้ป่วยที่ต้องสงสัยการติดเชื้อและรอผลยืนยันเพื่อส่งไปรักษายังหอผู้ป่วยที่เหมาะสม สร้างความมั่นใจลดการแพร่เชื้อในโรงพยาบาล ปลอดภัยมากขึ้นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบ้านเรือนได้ เมื่อต้องการแยกผู้ติดเชื้อในครอบครัว
ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า “ หอผู้ป่วยวิกฤตระบบทางเดินหายใจ (Respiratory care unit : RCU) หรือ หอผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจจากโรงพยาบาลแล้วต้องสงสัยการติดเชื้อ COVID-19 อยู่ระหว่างการรอผลการตรวจที่แน่นอน หรือ ผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันการติดเชื้อแล้วรอการส่งต่อการรักษาไปยังหอผู้ป่วยอื่นๆ โดยความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ ได้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยประมาณ 2 ปี ใน รพ.มน. เกิดเป็นองค์ความรู้ด้านวิชาการสำหรับใช้ใน รพ.มน. สามารถเป็นต้นแบบที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ให้กับ รพ.อื่น หรือ บ้านเรือนประชาชนได้ ทาง รพ.มน.ต้องขอขอบพระคุณผู้บริจาคห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ Negative Pressure Isolation Room จำนวน 6 หลัง ทำให้มีครุภัณฑ์ดูแลผู้ป่วย และได้ปรับปรุงสถานที่บริเวณ ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา 1 เป็นหอผู้ป่วย RCU แห่งแรกในเขตภาคเหนือตอนล่าง ที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางกายภาพ เทคโนโลยีระบบถ่ายเทอากาศที่ปลอดภัยต่อผู้ป่วยและผู้ดูแล รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยครับ”
สำหรับการประยุกต์หลักการด้านระบบถ่ายเทอากาศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นินนาท ราชประดิษฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า “สำหรับหอผู้ป่วย RCU นี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้นำมาใช้ในการเรียนการสอนรวมถึงทำเป็นงานวิจัยขึ้นมาเป็นต้นแบบ โดยแบ่งเป็น 4 Zone เพื่อการรับและให้การดูแลผู้ป่วย ได้แก่
Zone A - Contaminate Zone (- -) เขตปนเปื้อนหรือพื้นที่ที่มีแรงดันอากาศเป็นลบ หรือ Negative Pressure เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อมาปะปนในอากาศและพื้นที่อื่นรอบด้าน
Zone B - Buffer Zone (-) เขตกั้นระหว่างพื้นที่ปนเปื้อนกับพื้นที่รอบด้าน
Zone C - Service Zone (+) เขตบริการ คือพื้นที่สำหรับเปลี่ยนชุดป้องกัน และทำความสะอาดร่างกายหลังการดูแลผู้ป่วย
Zone D - Clean Zone (++) เขตสะอาด คือพื้นที่ทำงานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
UK cheap
super clone watches with high quality for men and women online.
Where can you buy cheap
breitling replica watches UK? Swiss fake Breitling online store can be a good choice.
การปรับปรุงหอผู้ป่วยนี้จะช่วยลดอัตราความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลระหว่างรอผลการตรวจยืนยัน รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ และสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือสามารถนำหลักการนี้ไปปรับใช้กับบ้านเรือนที่ต้องการแยกผู้ป่วยด้วยการดึงอากาศ และถ่ายเทอากาศ เช่น พัดลมดูดอากาศที่ขายตามท้องตลาด ขนาด 100-600 CFM ขึ้นอยู่กับขนาดห้องที่ใช้ด้วยครับ”
ด้านการตรวจหาเชื้อจุลชีพที่มีอยู่ในอากาศและพื้นผิวของห้องต่าง ๆ ใน รพ.มน. การนี้ อ.ดร.ภก ประยุทธ ภูวรัตนาวิวิธ คณะเภสัชศาสตร์ ร่วมกับทีมพยาบาลทีมแพทย์ทำงานวิจัย พบว่า “ในห้องที่จัดทำระบบถ่ายเทอากาศ ตั้งแต่ใช้งานมาก็ไม่พบเชื้อจุลชีพ ที่สำคัญคือ ยังไม่พบรายงานแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อจากการทำงานในห้องที่มีระบบแบบนี้ ในอนาคตคาดว่าจะเขียนเป็นคู่มือให้กับโรงพยาบาล หรือ บ้านเรือนที่ต้องการใช้กับผู้ป่วยที่มีโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ด้วยครับ”
ประเด็นที่ 2.ครบรอบ 28 ปี แห่งการก่อตั้ง คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร จัดโครงการบริการวิชาการคณะแพทยศาสตร์ ประจำปี 2565 เรื่อง Situation updates on COVID-19
ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า “ในโอกาสครบรอบ 28 ปี แห่งการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จะจัดโครงการบริการวิชาการคณะแพทยศาสตร์ ประจำปี 2565 เรื่อง Situation updates on COVID-19 ระหว่างวันที่ 18 – 19 มกราคม 2565 ณ หอประชุมมหาราช ชั้น 2 อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย ปาฐกถาธรรม เรื่อง การปรับตัวปรับจิตในช่วงสถานการณ์ COVID-19 โดย พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย
Live Show 28th Anniversary of Faculty of Medicine Naresuan University. “Innovative Medical School to Provide the Leader in Health System.” จะพาชมนวัตกรรมที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง อาทิ 1. หอผู้ป่วยวิกฤตระบบทางเดินหายใจ (Respiratory care unit : RCU) 1 เดียวในภาคเหนือตอนล่าง 2. ห้องตรวจทางไกลTelemedicine นวัตกรรมเชื่อมโยงแพทย์กับคนไข้ในยุค COVID-19 3. Cohort Ward with IoT และ น้อง MENU "Delivery Robot หุ่นยนต์ขนส่งยาและอาหาร รวมทั้งรางวัล โรงพยาบาลแห่งแรกในอาเซียน ที่ได้รับรางวัล Winner of the APSIC Safe Surgery Award ระดับอาเซียน รางวัลระดับเป็นเลิศ (เหรียญทอง) ศูนย์ราชการสะดวก (Government Easy Contract Center : GECC) รางวัลตราสัญลักษณ์ G-Green สำนักงานสีเขียว ระดับดีมาก
ด้านวิชาการ รับฟังบรรยายวิชาการ เรื่อง COVID-19 Health system response monitor นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ Great Communication in COVID-19 โดย รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “การทำวิจัย” Research in the digital Era โดย รศ.พญ.ธัญนันท์ ใบสมุทร (เรืองเวทย์วัฒนา) โรงพยาบาลรามาธิบดี Update treatments and vaccines for COVID-19 โดย นายแพทย์สุรัตน์ วรรณเลิศสกุล คณะแพทยศาสตร์ มน. Real life type 2 diabetes mellitus management for COVID-19 patients พญ.แพรว สุวรรณศรีสุข คณะแพทยศาสตร์ มน. เสวนาวิชาการหัวข้อ COVID-19 in special condition โดยทีมแพทย์พยาบาล รพ.ม.นเรศวร
ด้านการวิจัย ชมการนำเสนอผลงานวิจัยของนิสิตแพทย์ จากศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกทั้ง 5 แห่ง เพื่อประกวดผลงานวิจัยนิสิตดีเด่น พิธีมอบรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น พิธีมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณการจัดการเรียนการสอน
สำหรับการประชุมวิชาการในครั้งนี้จัดการประชุม 2 รูปแบบได้แก่ Onsite จัดให้มีการเว้นระยะห่างตามมาตรฐานและปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างเคร่งครัด รวมทั้งเปิดให้รับชมผ่าน Online ในหลายช่องทางได้แก่
Web Site มหาวิทยาลัยนเรศวร www.nu.ac.th Facebook : มหาวิทยาลัยนเรศวร
Web Site คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร www.med.nu.ac.th
YouTube : Medicine NU-PR Channel Facebook : @PR.MedicineNU
ทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้าร่วมประชุมและผู้รับชมการประชุมในครั้งนี้จะได้รับประโยชน์ที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันช่วงสถานการณ์โควิด-19 นี้ ทั้งองค์ความรู้ด้านวิชาการที่ทันสมัย ประสบการณ์การให้การดูแลผู้ป่วย การปรับจิตใจให้เท่าทันสถานการณ์ลดความเครียดให้กับตนเองและถ่ายทอดให้คนรองข้างได้มีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจไปด้วยกัน สมดังเจตนาแห่งการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และวิสัยทัศน์ “โรงเรียนแพทย์ที่ใช้นวัตกรรมสร้างผู้นำด้านระบบสุขภาพ : Innovative Medical School to Provide the Leader in Health System.” ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ กล่าว
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร :
https://med.nu.ac.th/home/?language&mod=more_detail&nID=14311&fbclid=IwAR3zk00yDIpLsrXsOu5wdyHsnYwvTa9MJqp9b0KYBM0oZ2x5T60Rx_rKRiE
PR Medicine NU คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร :
https://www.facebook.com/110249227290786/posts/457305462585159/?sfnsn=mo
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
https://www.bangkokbiznews.com/social/982485
northernnewsthailand.com :
https://northernnewsthailand.com/news/81753