จากกรณีอุบัติภัยสารเคมีระเบิดและไฟไหม้ ซอยกิ่งแก้ว ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี สมุทรปราการ ตั้งแต่เช้ามืดวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 ทำให้บ้านเรือนเสียหายกว่า 70 หลัง เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 29 ราย ทำให้ต้องอพยพประชาชนในรัศมี 5 กิโลเมตรจากโรงงานต้นเหตุด้วยหวั่นเกิดเหตุระเบิดซ้ำ จากไฟไหม้ที่ต่อเนื่องยาวนานกว่า 22 ชั่วโมงทำให้เกิดควันดำลอยฟุ้งกระจายในบรรยากาศหลายสิบกิโลเมตร ทำให้ชุมชนที่อพยพออกจากที่พักอาศัยและชุมชนในทิศทางที่มลพิษอากาศลอยผ่านเกิดความกังวลในความปลอดภัย ไม่มั่นใจในอันตรายต่อสุขภาพจากการตกสะสมชองสารอันตรายในมลพิษอากาศไม่ว่าจะเป็นสไตรีน (Styrene) และ สารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons, PAHs) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารก่อมะเร็ง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรใช้วิชาการบริการสังคม โดยมอบหมายให้ ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ทำแบบจำลองการแพร่กระจาย และ การตกสะสมของมลพิษอากาศในขอบเขต 50 กิโลโมตรจากโรงงานต้นเหตุ พบว่าการตกสะสมของสารก่อมะเร็งดังกล่าวสู่ดินและน้ำจะไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในระดับที่ยอมรับไม่ได้ (ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง (Excess Cancer Risk) <1x10-6) และ จะไม่ทำให้เกิดโรคอื่นๆที่ไม่ใช่มะเร็งในระดับที่ยอมรับไม่ได้ด้วย (Hazard Index <0.1) ซึ่งทำให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจย้ายกลับเข้าบ้านเรือน และใช้ชีวิตตามปกติ
ทั้งนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย(วสท.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม นำเสนอข้อมูลงานวิจัยแผนที่ความเสี่ยงดังกล่าวต่อสาธารณะในวงเสวนา “ฟื้นฟู-เยียวยา-ป้องกัน” ที่ควรมี (ทำ) กรณีเหตุระเบิดกิ่งแก้ว” และให้สัมภาษณ์สรุปผลการวิจัยในรายการ ข่าว 3 มิติ ช่อง 3 และ รายการ 2ºC ทำมาหากิน ช่อง TPBS ดังแสดงใน Link ข้างล่างนี้
https://www.facebook.com/3mitinews/videos/799321120731764
https://www.facebook.com/3mitinews/videos/499528721348473
https://www.facebook.com/DXCThaiPBS/videos/206618688013350
Copyright © Faculty of Engineering Naresuan University. All rights reserved.