Untitled Document
Faculty NEWS

จังหวัดพิษณุโลก รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กสตรีและครอบครัว



572+2012_12_07_09_46_53.jpg



.          ปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว ยังมีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในสังคม ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรง ซับซ้อน และมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น จากสถิติของศูนย์ช่วยเหลือเด็กและสตรี ในภาวะวิกฤตจากความรุนแรง  ในปี 2549 มีจำนวนผู้ถูกกระทำความรุนแรง 15,882 คน อายุเฉลี่ยของผู้ถูกกระทำส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 11-18 ปี รองลงมาคือ 18-35 ปี หรืออาจกล่าวได้ว่ามีผู้ถูกกระทำความรุนแรงเฉลี่ยวันละ 44 คน

          จากข้อมูลพบว่าประเทศไทยยังติดอันดับชาติที่มีปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และคนในครอบครัว เป็นอันดับที่ 7 สาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดความรุนแรงคือสุรา ซึ่งไทยก็ติดอันดับประเทศที่มีประชากรบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นอันดับ ที่ 6 ของโลก สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดจากการประเมินค่าใช้จ่ายที่สูญเสียในเชิงเศรษฐกิจ ค่ารักษาพยาบาลผู้ถูกกระทำรุนแรง ของกระทรวงสาธารณสุข คิดเป็นมูลค่าสูงกว่า 36,000 ล้านบาทต่อปี

อะไรคือความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

          เมื่อกล่าวถึงความรุนแรงต่อเด็กลแะสตรี ภาพที่คนส่วนใหญ่จะนึกถึงคือเหตุการณ์การทำร้ายร่างกาย หรือการข่มขืน แต่ความจริงแล้ว ปัญหาความรุนแรงไม่ได้มีเฉพาะการทำร้ายร่างกายเท่านั้น ยังพบว่ามีรูปแบบการใช้ความรุนแรงอีกหลายรูปแบบ เช่น การใช้ความรุนแรงต่อจิตใจ อารมณ์ การทำความรุนแรงทางวาจา ความรุนแรงในที่ทำงาน รวมไปถึงการบังคับ กักขัง หน่วงเหนี่ยว อิสระภาพ เป็นต้น

ทำไมจึงต้องเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน

         เหตุผลที่องค์การสหประชาชาติประกาศให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก และสตรี มีสาเหตุ มาจากเหตุการณ์สังหาร นักเคลื่อนไหวทางการเมืองสตรีชาวโดมินิกัน 3 คน คือ Patria, Maria and Minerva Mirable ในคืนวันที่ 25 พฤศจิกายน 1961 อันเนื่องมาจากเหตุผลทางการเมืองในยุคการปกครองของนาย Rafael (1930 - 1961) ซึ่ง 20 ปี ให้หลัง จากเหตุการณ์ดังกล่าว นักเรียกร้องสิทธิสตรี ใช้วันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันรณรงค์และเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงต่อสตรีตลอดมา และในที่สุดองค์การสหประชาชาติ มีมติให้วันดังกล่าวของทุกปีเป็นวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1999

เพราะเหตุใดจึงใช้สัญลักษณ์ริบบิ้นสีขาว

         การรณรงค์ติดริบบิ้นสีขาว เพื่อยุติความรุนแรงต่อสตรี ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศแคนาดา เมื่อปี 1991 (พ.ศ.2534) หลังจาก เหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาหญิง ของมหาวิทยาลัยมอนทรีอัล จำนวน 14 ราย โดยผู้ทำการรณรงค์ เป็นกลุ่มอาสาสมัครชาย จำนวนประมาณ 1,000,000 คน ที่ตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงต่อสตรี และต้องการยุติปัญหาดังกล่าว จึงได้เรียกร้องให้ผู้ชาย ทั่วโลก ร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาความรุนแรงต่อสตรี และแสดงตนว่าจะไม่เป็นผู้กระทำรุนแรงต่อสตรี โดยสัญลักษณ์ริบบิ้นสีขาว หมายถึง การยอมรับว่า จะไม่ทำร้ายหรือนิ่งเฉยต่อการใช้ความรุนแรงต่อสตรีในทุกรูปแบบ

ที่มาของเนื้อหาสาระ : http://www.gender.go.th/

ภาพประกอบจาก : http://www.ch7.com/Entertain/Drama_Gallery.aspx?ContentID=491

  รายละเอียดเอกสารเพิ่มเติม





วันที่ลงข่าว 07-12-2555


โดย : นิรันดร กาบบัว



Untitled Document
ติดต่อ

สำนักงานเลขานุการคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์
อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
Tel: 0-5596-3961 (หน่วยประชาสัมพันธ์)
0-5596-4018 (หน่วยกิจการนิสิต)
0-5596-4009 (หน่วยวิชาการ)
โทรสาร : 0-5596-4000
Email
engineering@nu.ac.th
การเดินทาง

Map
ดูแผนที่เพื่อวางแผนการเดินทาง

คลิกที่นี่