Untitled Document
Faculty NEWS

เผยโฉมเครื่องโรยเมล็ดข้าวงอก มุ่งลดต้นทุนให้ชาวนาไทย จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร



547+2012_11_23_09_02_22.jpg



เครื่องโรยเมล็ดข้าวงอกแบบแถว ต้นแบบ เป็นผลงานวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.มัทนี สงวนเสริมศรี และ ดร.รัตนาการุญบุญญานันท์ แห่งภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ด้วยเล็งเห็นว่าการปลูกข้าวแบบนาดำ แม้จะได้ผลผลิตสูง ดูแลง่ายไม่ต้องใช้สารเคมีจำนวนมากและสามารถพัฒนาไปสู่เกษตรอินทรีย์ได้ง่าย แต่การทำนาดำ ก็มีขั้นตอนที่ยุ่งยากเนื่องจากต้องมีการเพาะกล้าการเตรียมแปลงเพาะกล้า รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการปักดำที่สูงไม่ว่าจะเป็นการปักดำด้วยคนหรือเครื่องดำ นาที่มีราคาแพงและปัญหาขาดแคลนแรงงานคนรุ่นใหม่ก็ทิ้งนามุ่งสู่เมืองใหญ่และ เกษตรกรส่วนใหญ่มีอายุมากขึ้น

ส่วนการทำนาหว่าน แบบที่เกษตรกรนิยมกันอยู่นั้นพบว่ามีปัญหาการใช้เมล็ดพันธุ์เยอะ แตกกอไม่สมบูรณ์วัชพืชและแมลงเยอะทำให้ต้องใช้สารเคมีจำนวนมากจึงเป็นที่มา ของการคิดค้นเครื่องจักรกลเกษตรที่ตอบโจทย์ดังกล่าวซึ่งได้แก่ “เครื่องโรยเมล็ดข้าวงอกแบบแถวต้นแบบ”ซึ่งสามารถโรยได้ครั้งละ 8 แถว ปรับระยะห่างระหว่างแถวได้ 25-30เซนติเมตร และสามารถต่อพ่วงกับรถไถเดินตามที่เกษตรกรมีอยู่ได้เลยซึ่งเครื่องโรยนี้ สามารถแก้ปัญหาในเรื่องการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรและสามารถทำนาที่เป็น ระเบียบ ดูแลง่ายเหมือนนาดำจากผลการวิจัย พบว่า “เครื่องโรยเมล็ดข้าวงอกแบบแถว”ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 10 ก.ก./ไร่เมื่อเทียบกับการหว่านจะใช้เมล็ดพันธุ์ลดลงประมาณ 20 ก.ก./ไร่เมื่อใช้เครื่องโรยเมล็ดข้าวจะช่วยเกษตรกรลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ ได้อีก460 บาท/ไร่ โดยที่ได้ผลผลิตต่อไร่ไม่แตกต่างจากการหว่าน
ด้วยขนาดและน้ำหนักที่คนสองคนสามารถยกได้อย่างสบายจึงสามารถ เคลื่อนย้าย และติดตั้งใช้งานได้โดยง่ายมีต้นทุนสร้างเครื่องเพียง 4 หมื่นบาท และที่สำคัญเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกษตรกรสามารถผลิตได้เองซึ่งจะช่วยลดต้นทุนค่าเครื่องจักรได้อีกจำนวนมาก ref. www.nu.ac.th




วันที่ลงข่าว 23-11-2555


โดย : นิรันดร กาบบัว



Untitled Document
ติดต่อ

สำนักงานเลขานุการคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์
อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
Tel: 0-5596-3961 (หน่วยประชาสัมพันธ์)
0-5596-4018 (หน่วยกิจการนิสิต)
0-5596-4009 (หน่วยวิชาการ)
โทรสาร : 0-5596-4000
Email
engineering@nu.ac.th
การเดินทาง

Map
ดูแผนที่เพื่อวางแผนการเดินทาง

คลิกที่นี่