Untitled Document
Faculty NEWS

กองบริหารการวิจัย ประกาศทุนวิจัยมุ่งเป้าด้านสุขภาพและชีวเวชศาสตร์ 1 ว. 5 ส. ทุ่มงบ 200 ล้าน หนุนวิจัยสุขภาพและชีวเวชศาสตร์ เร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงใน 3 ปี



537+2012_11_12_10_04_32.jpg



ดี เดย์ 15 ต.ค. 55 สวรส. เปิดรับข้อเสนอโครงการฯ 11 โจทย์วิจัย ครอบคลุม 3 มิติ  วช. พร้อมหนุนมอบ สวรส. เจ้าภาพหลักบริหารจัดการทุนวิจัยฯ เล็ง 3 ปี สร้างการเปลี่ยนแปลงกับการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศ  พร้อมดึงเอกชน - ภาคส่วนต่างๆ ร่วมใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ศ.นพ.สุทธิพร  จิตต์มิตรภาพ  เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  กล่าวว่า “การวิจัยมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ  แต่สิ่งที่เป็นปัญหาและมีความสำคัญยิ่งไปกว่านั้น คือ การบูรณาการเชื่อมโยงเป้าหมายและความรู้จากงานวิจัยของหน่วยงานหลักใน ประเทศ  การจัดการงานวิจัยอย่างเป็นระบบ และบริหารประสิทธิภาพให้เกิดผลต่อการพัฒนาและแก้ปัญหาประเทศได้ในภาพรวม  ทั้งนี้  หน่วยงานให้ทุนสนับสนุนการวิจัยหลักของประเทศ 6 หน่วยงาน (1 ว. 5 ส.) ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)  จึงได้ร่วมบูรณาการการดำเนินงานวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศในภาพรวม  โดยกลุ่มวิจัย 1 ว. 5 ส. มีมติให้เพิ่มทุนสนับสนุนการวิจัยด้านสุขภาพและชีวเวชศาสตร์ ภายใต้กรอบงบประมาณ  200 ล้านบาท  เพื่อสร้างกลไกการบริหารจัดการและดำเนินงานวิจัยที่เป็นระบบ  ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทั้งในระดับประเทศเชื่อมโยงในระดับโลก  มุ่งประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้น  ภายใต้การกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนและเป้าหมายการพัฒนาประเทศให้ไปในทิศทาง เดียวกัน  ตลอดจนลดความซ้ำซ้อนโดยการเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับนัก วิจัย  รวมทั้งการสร้างชุมชนเครือข่ายการวิจัยแต่ละกลุ่มสาขาให้เข้มแข็ง และสนับสนุนการใช้ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง โดย วช.  ได้สนับสนุนงบประมาณดังกล่าวให้กับ สวรส. เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการทุนวิจัยฯ ที่มิได้มุ่งแค่เป้างานวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศเท่านั้น  แต่ต้องการการพัฒนาระบบการวิจัย  ระบบกำกับติดตามประเมินผล  ตลอดจนการเพิ่มจำนวนนักวิจัยที่ขาดแคลน ซึ่งหากการดำเนินงานเป็นไปตามทิศทางวางไว้และเห็นผลของการขับเคลื่อนที่ ชัดเจน วช. ก็พร้อมจัดสรรงบเพิ่มอย่างเต็มที่” ด้าน นพ.พงษ์พิสุทธิ์  จงอุดมสุข  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เปิดเผยว่า “ด้วยประสบการณ์ของ สวรส. ในการบริหารจัดการงานวิจัยด้านสุขภาพมาตลอดเกือบ 20 ปี สวรส. มีความพร้อมที่จะเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการงานวิจัยด้านสุขภาพและชี วเวชศาสตร์ของประเทศ  โดยช่วงที่ผ่านมา สวรส. ได้มีการระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญแขนงต่างๆ เพื่อร่วมพัฒนากรอบโจทย์วิจัยที่สำคัญๆ ต่อการพัฒนาและแก้ปัญหาเร่งด่วนของประเทศ  โดยครอบคลุมทั้งมิติสุขภาพ  สังคมและเศรษฐกิจ  ดังนั้นผลลัพธ์และผลกระทบจากการนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์จึงมีความหลากหลาย มากกว่าเดิมที่มุ่งเฉพาะเรื่องการแพทย์และสาธารณสุขเท่านั้น  รวมถึงการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและภาคส่วนอื่นๆ ร่วมใช้ประโยชน์จากงานวิจัยด้วย  โดยได้จัดสรรสัดส่วนงบประมาณออกเป็น 75:15:10  โดย  75% สนับสนุนวิจัยและพัฒนาด้านมาตรการสุขภาพ และการพัฒนาเทคโนโลยี   15% สนับสนุนการวิจัยระบบและนโยบายด้านสุขภาพ และ 10% สำหรับการสนับสนุนการวิจัยเชิงระบบในภาพรวม เช่น การจัดลำดับความสำคัญของหัวข้อวิจัย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการวิจัย ทั้ง นี้ ตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. - 15 พ.ย. 2555 สวรส. จะเปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยด้านสุขภาพและชีวเวชศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2556  ประกอบด้วยกรอบโจทย์วิจัย 11 ชุดโครงการ ได้แก่ 1) การวิจัยเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย  2) การวิจัยเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมผู้สูงอายุ  3) การพัฒนาระบบปฏิบัติการ หรือระบบข้อมูล เพื่อประกอบการปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉิน รวมถึงในสถานการณ์สาธารณภัยและภัยพิบัติ  4) การป้องกัน รักษา และควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ  5) การป้องกัน รักษา และการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  6) โครงการวิจัยและพัฒนาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ และเวชภัณฑ์ เพื่อทดแทนการนำเข้า หรือลดภาระรายจ่ายของประเทศ  7) การวิจัยเพื่อพัฒนาบริการปฐมภูมิ  8) การวิจัยเพื่อพัฒนาบริการระยะกลางที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพ (Intermediate care)  9) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย 10) การวิจัยเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงแนวทางเวชปฏิบัติ 11) การพัฒนาระบบมาตรฐาน และการควบคุมคุณภาพทางการแพทย์   ทั้งนี้ เกณฑ์พิจารณาโครงการเน้นการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาที่ให้ผลลัพธ์ที่เป็น ประโยชน์กับประเทศได้ในระยะสั้น (1-3 ปี) รวมทั้งต้องเป็นงานวิจัยที่มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประโยชน์  โดยสร้างคุณค่าหรือมีผลกระทบสูงต่อการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาระบบสุขภาพของ ประเทศ   โดยในแต่ละชุดโครงการ สวรส. จะระดมผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพด้านนั้นๆ ร่วมพิจารณาคัดเลือกด้วยกระบวนการทางวิชาการที่เป็นระบบ   ซึ่งหลังจากปิดรับโครงการฯ แล้ว สวรส. จะเร่งกระบวนการพิจารณาและการประกาศผลการให้ทุนฯ ในเดือนมกราคม 2556 และหลังจากที่มีการสนับสนุนทุนวิจัยไปแล้ว สวรส. จะมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อให้นักวิจัยสามารถพัฒนางานจัยที่มีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง  รวมทั้งเพื่อการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างนักวิจัย และผู้ใช้ประโยชน์ไว้อย่างต่อเนื่อง  ตลอดจนจัดกระบวนการให้หน่วยงานต้นสังกัดของนักวิจัย  มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโครงการวิจัย และผลักดันให้โครงการวิจัยดำเนินการได้ตามแผนงานที่วางไว้   และพยายามส่งเสริมสร้างแรงจูงใจให้นักวิจัยสามารถดำเนินงานได้สำเร็จตามแผน งานที่วางไว้  ทั้งนี้  สามารถติดตามรายละเอียดและความคืบหน้าการดำเนินงาน ตลอดผลการพิจารณาสนับสนุนทุนวิจัยได้ทาง www.hsri.or.th หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ สวรส. โทร. 0-2832-9232 หรือ 0-2832-9288” 

1 ว. 5 ส. ทุ่มงบ 200 ล้าน  หนุนวิจัยสุขภาพและชีวเวชศาสตร์ เร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงใน 3 ปี
1 ว. 5 ส. ทุ่มงบ 200 ล้าน  หนุนวิจัยสุขภาพและชีวเวชศาสตร์ เร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงใน 3 ปี
1 ว. 5 ส. ทุ่มงบ 200 ล้าน  หนุนวิจัยสุขภาพและชีวเวชศาสตร์ เร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงใน 3 ปี
1 ว. 5 ส. ทุ่มงบ 200 ล้าน  หนุนวิจัยสุขภาพและชีวเวชศาสตร์ เร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงใน 3 ปี
1 ว. 5 ส. ทุ่มงบ 200 ล้าน  หนุนวิจัยสุขภาพและชีวเวชศาสตร์ เร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงใน 3 ปี
1 ว. 5 ส. ทุ่มงบ 200 ล้าน  หนุนวิจัยสุขภาพและชีวเวชศาสตร์ เร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงใน 3 ปี
1 ว. 5 ส. ทุ่มงบ 200 ล้าน  หนุนวิจัยสุขภาพและชีวเวชศาสตร์ เร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงใน 3 ปี
  รายละเอียดเอกสารเพิ่มเติม





วันที่ลงข่าว 12-11-2555


โดย : นิรันดร กาบบัว



Untitled Document
ติดต่อ

สำนักงานเลขานุการคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์
อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
Tel: 0-5596-3961 (หน่วยประชาสัมพันธ์)
0-5596-4018 (หน่วยกิจการนิสิต)
0-5596-4009 (หน่วยวิชาการ)
โทรสาร : 0-5596-4000
Email
engineering@nu.ac.th
การเดินทาง

Map
ดูแผนที่เพื่อวางแผนการเดินทาง

คลิกที่นี่