ปี 2550 โรงพยาบาลรามาธิบดี ตรวจผลเลือดประชาชนที่อาศัยรอบเหมืองแร่ทองคำของ บริษัททุ่งคำ จ.เลย พบสารไซยาไนต์ในเลือดเกินมาตรฐาน ล่าสุดสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ตรวจพบพบแมงกานีสในเลือดของประชาชนรอบเหมืองทอง คำบริษัทอัครารีซอร์สเซส จำกัด ในพื้นที่ อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร
จึงไม่ใช่ครั้งแรกที่แต่ละหน่วยงานออกมาเสนอผลพิสูจน์ที่เกิดขึ้นกับชาว บ้านและสิ่งแวดล้อมรอบเหมือง แต่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์กลับไม่เพียงพอที่จะระบุได้ว่าสาเหตุที่แท้จริงมา จากการประกอบกิจการของเหมืองทองคำ หรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ กลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการหาผู้รับผิดชอบ และแนวทางการฟื้นฟูที่ถูกต้อง
ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการประชุมรับฟังการชี้แจงของหน่วยงาน และผู้เชี่ยวชาญเรื่องเหมืองทองคำ ที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จึงเสนอแนะมาตรการที่ไทยควรนำมาปรับใช้เพื่อลดความเสี่ยงจากกิจกรรมเหมือง แร่ทองคำ ที่เน้นการตั้งรับโดยต้องมีการประเมินความเสี่ยงพื้นฐานของแต่ละพื้นที่ ตั้งแต่ยังไม่เปิดเหมือง
“ขอเสนอว่าถ้ามีพื้นที่ใหม่ ๆ ควรประเมินความเสี่ยงพื้นฐานก่อน และใช้ความเสี่ยงพื้นฐานร่วมในการตัดสินใจว่าจะเปิดหรือไม่ให้เปิด หรือเปิดในมาตรการอะไร กพร.ก็น่าจะหามาตรการร่วมกันกับสาธารณสุขหรือเปล่า และการประเมินความเสี่ยงก็ต้องเป็นการประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ คือไม่ใช่บอกแค่ว่าเสี่ยงไม่เสี่ยง แต่ต้องบอกด้วยว่าเสี่ยงในระดับไหน ซึ่งมีศัพท์ในการประเมินอยู่แล้ว ซึ่งจะอ้างอิงได้“ ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าว
ทั้งนี้ได้เสนอการตั้งกฎหมายฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อน เพื่อความชัดเจนว่ามีเหตุการณ์ใดบ้างที่สมควรได้รับการฟื้นฟู และแนวทางของแต่ละเหตุการณ์ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างไร
“ในของประเทศสหรัฐอเมริกาเขาใช้ข้อมูลสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว คือเขาคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีสารอันตรายในเลือดคนก่อนแล้วค่อยทำอะไร ไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างนั้น ไม่จำเป็นต้องป่วยต้องตาย คือแค่มีความเสี่ยงก็ดำเนินการเลย แล้วความเสี่ยงนี้ก็ไม่ใช่ความเสี่ยงในปัจจุบันเท่านั้น แต่เป็นความเสี่ยงที่อีก 30 ปีมันจะเกิด…ก็ทำเลย”
“ก็แปลว่าต้องดำเนินการไม่ว่าจะโดยหาผู้รับผิดได้หรือไม่ก็แล้วแต่ เขาจะมีกองทุนฟื้นฟู ถ้ายังตอบไม่ได้ว่าตกลงเป็นเพราะธรรมชาติหรือเพราะเหมืองก็ต้องดำเนินการไป ก่อน แล้วกระบวนหาผู้รับผิดก็จะดำเนินการคู่ขนานไป” ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าว
เสียงจากผู้เชี่ยวชาญในที่ประชุมยังเห็นว่า การเกิดขึ้นของเหมืองย่อมมีความเสี่ยงไม่มากก็น้อย จึงไม่สมควรที่เหมืองและชุมชนอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ดังนั้นการเปิดสัปทานในพื้นที่ จ.เลย รอบใหม่ที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น ต้องคิดอย่างถี่ถ้วนว่าจังหวัดจะดำเนินไปในทิศทางไหน ระหว่างเศรษฐกิจจากเหมืองแร่ทองคำ, การท่องเที่ยว หรือมีเพื่อที่อยู่ที่ทำกินของประชาชน
วรัญญา จันทราทิพย์ ถ่ายภาพ
ขวัญชนก เดชเสน่ห์ สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม GreennewsTV รายงาน
วันที่ลงข่าว 13-02-2558
โดย : นิรันดร กาบบัว