Untitled Document
Faculty NEWS

กพร.“เพิ่มผลิตภาพแรงงาน” ไตรมาสแรก...ผลลัพธ์ Win Win จากการที่เป็นคณะที่ปรึกษาของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มน.



1067+2014_07_22_12_51_27.jpg



กพร.“เพิ่มผลิตภาพแรงงาน” ไตรมาสแรก...ผลลัพธ์ Win Win

จากการที่โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการสถานประกอบกิจการ ซึ่งเป็นนโนบายของนายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน(กพร.)ประสบความสำเร็จอย่างดีในปีที่ผ่านมา โดยปี 2556 ช่วยลดการสูญเสียของต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้ถึง 192 ล้านบาทในสถานประกอบกิจการพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง จำนวน 18 แห่ง ส่งผลให้ในปี 2557 กพร.มีการขยายโครงการครอบคลุมสถานประกอบกิจการขนาดย่อมหรือ SMEs ทั่วประเทศรวม 200 แห่ง และคาดว่าจะมีลูกจ้างเข้าร่วมประมาณ 20,000 คน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน เป็นต้นมา

นายรำพึง ธรรมเจริญ ผู้อำนวยการกองพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบกิจการ กพร. อธิบาย ว่า โครงการนี้จะมุ่งเน้นที่สถานประกอบกิจการ SMEsที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยจะมีคณะที่ปรึกษาซึ่งเป็นคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยลงพื้นที่ สถานประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันทำการศึกษา วิเคราะห์ หาสาเหตุของการสูญเสียของต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งหาแนวทางในการแก้ปัญหาในการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ทั้งนี้ จะเน้นให้แนะนำปรับปรุงใน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานให้มากขึ้น 2.กระบวนการขั้นตอนการผลิต 3.คลังสินค้าและวัตถุดิบ และ 4.ปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยหลักสถิติ เช่น คำนวณการผลิตให้เพียงพอและพอดีกับความต้องการของตลาด

ผ่านพ้นการดำเนินงานในไตรมาสแรกระหว่างเดือนเมษายน – มิถุนายน 2557 ผอ.รำพึงกล่าว ว่า คณะที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่ให้คำแนะนำสถานประกอบกิจการครบทั้ง 200 แห่งแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างสถานประกอบกิจการดำเนินการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตตาม คำแนะนำ และฝึกอบรมให้ความรู้แก่พนักงาน ก่อนจะเข้าสู่การประเมินผลในช่วงปลายปี ซึ่งสถานประกอบกิจการล้วนให้การตอบรับและพึงพอใจกับโครงการเป็นอย่างมาก เนื่องจากเห็นว่าจะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างแน่นอน สามารถแก้ปัญหาต่างๆได้

ที่สำคัญ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน มีการจัดกระบวนการผลิตใหม่ทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้คนงานน้อยลง พนักงานที่เหลือก็สามารถไปทำงานในแผนกอื่นได้ เครื่องจักรมีการปรับปรุงการผลิตได้มากขึ้น และของเสียน้อยลง การจัดการตารางการผลิตช่วยให้ผลิตได้ทันตามความต้องการของตลาด ไม่ต้องผลิตเกินความจำเป็นและเก็บวัตถุดิบไว้มากเกิน การตรวจสอบคลังสินค้ามีผลให้ขจัดสินค้าที่หมดอายุและสิ่งไม่จำเป็นออกไป ช่วยลดต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้เป็นจำนวนมาก โครงการมีประโยชน์มาก อยากให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานดำเนินการต่อและขยายผลไปยังสถานประกอบกิจการอื่นๆ ในแง่ของพนักงานลูกจ้างที่เข้าร่วมโครงการนี้ ได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและศักยภาพมากขึ้นรองรับกับค่าแรงที่สูง ขึ้น นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดความรู้สึกผูกพัน มีทัศนคติที่ดีขึ้นในการทำงาน จึงขยันทำงานมากขึ้น บางแผนกสามารถลดพนักงานให้เหลือจำนวนน้อยลงแต่สามารถทำงานได้เท่าเดิม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ระยะยาวของสถานประกอบกิจการ เพราะคนเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต ถ้าไม่ได้รับการพัฒนาก็จะส่งผลต่อกิจการ ขณะที่คณาจารย์ที่เป็นคณะที่ปรึกษา หลังจากได้ลงพื้นที่คณาจารย์ได้ทำงานอย่างเต็มที่ ทุ่มเทความรู้ ประสบการณ์ให้คำปรึกษาแนะนำ โดยสถานประกอบกิจการสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม โดยคณะที่ปรึกษาให้การสะท้อนเกี่ยวกับโครงการนี้ว่า ในบางครั้งการลงพื้นที่สถานประกอบกิจการบางประเภทไม่ได้เป็นสถานประกอบ กิจการตามความเชี่ยวชาญก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ตรงกับประเภทของงาน เช่น สถานประกอบกิจการประเภทโรงแรม หรือโรงพยาบาล ทำให้ได้มีโอกาสเรียนรู้เพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ในมหาวิทยาลัยต่อไป เหนือสิ่งอื่นใดตลอดช่วงเวลาที่ดำเนินโครงการมาเป็นระยะเวลา 3 เดือน นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกพร.บอกว่า ยังไม่พบปัญหาใด เป็นไปตามแนวทางที่วางไว้ จะมีปัญหาในการปฏิบัติบ้าง แต่ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค และผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดที่กำกับดูแลในพื้นที่สามารถแก้ ปัญหาได้อย่างดี กลับกันพบว่าโครงการนี้ สถานประกอบกิจการ SMEsที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการที่กำหนดให้ต้องเป็นSMEsที่มีแรง งาน 100 คนขึ้นไป มีความต้องการเข้าร่วมโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความต้องการของสถาน ประกอบกิจการเป็นจำนวนมาก จึงมีความเป็นไปได้ที่โครงการในปีต่อไปจะขยายให้ครอบคลุม SMEsทุกกลุ่มประเภทมากขึ้น “โครงการนี้เป็นการก่อให้เกิดผลลัพธ์แบบวิน วิน (Win Win) ทั้งสถาณประกอบกิจการและคณะที่ปรึกษา คือ ส่งผลให้สถานประกอบกิจการได้มีการปรับปรุงระบบ กระบวนการผลิตและพัฒนาศักยภาพพนักงาน จนนำมาสู่การผลิตที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นต่อกิจการอันเป็นเป้าหมายหลักของโครงการขณะเดียวกันคณาจารย์ที่เป็นคณะที่ปรึกษาได้เรียนรู้จากสถานประกอบกิจการที่เป็นการปฏิบัติจริง เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างหน่วยปฏิบัติและภาคทฤษฎี นำมาสู่การถอดบทเรียนเสริมกับทฤษฎีต่างๆ สำหรับใช้ในการให้ความรู้แก่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่แต่ละท่านเป็นอาจารย์สอนอยู่ด้วย" อธิบดีนครกล่าว Link : เนชั่นสุดสัปดาห์





วันที่ลงข่าว 22-07-2557


โดย : นิรันดร กาบบัว



Untitled Document
ติดต่อ

สำนักงานเลขานุการคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์
อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
Tel: 0-5596-3961 (หน่วยประชาสัมพันธ์)
0-5596-4018 (หน่วยกิจการนิสิต)
0-5596-4009 (หน่วยวิชาการ)
โทรสาร : 0-5596-4000
Email
engineering@nu.ac.th
การเดินทาง

Map
ดูแผนที่เพื่อวางแผนการเดินทาง

คลิกที่นี่